วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

Onet54 ข้อ 64




Onet54 ข้อ 63




Onet54 ข้อ 62




Onet54 ข้อ 61




Onet54 ข้อ 60




Onet54 ข้อ 59




Onet54 ข้อ 58


58. จากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ข้อใดคือบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวที่ค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุดของโลก
    1. แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคบริเวณเทือกเขาแอลป์และหิมาลัย
    2. แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิก
    3. แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
    4. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
อธิบาย สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
    1. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค คือ ชนกัน แยกจากกัน เลื่อนขนานกัน
    2. อุกกาบาตตก
    3. ระเบิดขนาดใหญ่ ปรมาณู
    4. ภูเขาไฟระเบิด
    5. ภูเขาทรุดตัว ดีดตัว
สาเหตุหลัก คือ แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ จึงเกิดแผ่นดินไหว ตัวเลือกที่นำมาถามจะเป็นแนวรอยต่อทั้งหมด
รอบมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดมากที่สุด มี พม่า ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปิน ญี่ปุ่น เรียก วงแหวนแห่งไฟ Ring of fire
บริเวณเทือกเขาแอลป์และหิมาลัย มีไม่มากเท่า
แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก มีแต่ก็ยังไม่มาก ดังนั้น 2 จึงมากสุด

เสริมความรู้เรื่องแผ่นดินไหว
2 ริกเตอร์ บ่อยๆ ก็ล้านกว่าครั้งต่อปี
3 ริกเตอร์ แสน ครั้งต่อปี
4 ริกเตอร์ 10000 ครั้งต่อปี
6 ริกเตอร์ 1500 ครั้งต่อปี
7 ริกเตอร์ 150 ครั้งต่อปี
8 ริกเตอร์ 18 ครั้งต่อปี
9 ริกเตอร์ 1 ครั้งต่อปี
10 ริกเตอร์ <1 ครั้งต่อปี

Onet54 ข้อ 57


57. คลื่นไหวสะเทือนจะมีการเดินทางในตัวกลางในข้อใดได้เร็วที่สุด
    1. ของแข็ง
    2. ของเหลว
    3. แก๊ส
    4. มีความเร็วเท่ากันทั้ง 3 ชนิด
อธิบาย คลื่นไหวสะเทือน Seismic Wave เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น
มีหลายชนิด หลักๆ 4 ชนิด เบื้องต้นแบ่ง 2 ชนิดใหญ่ คือ
1. Body Waves เคลื่อนผ่านตัวกลาง
    P-wave (Primary) ตามยาว,
    S-wave (Secondary ; Shear) ตามขวาง
2. Surface Waves พบบริเวณพื้นผิวเท่านั้น
    Love wave เหมือนฟันเลื่อย แนวนอน,
    Rayliegh wave เป็นเหมือนคลื่นน้ำ
ลำดับการเกิดจะมาจาก p>s>Love>...

มาดูโจทย์ คลื่นไหวสะเทือน คือ คลื่นทั่วไป เมื่อคลื่นผ่านตัวกลางแต่ละชนิดจะมีความเร็วไม่เท่ากัน... อนุภาคของตัวกลางที่ต่างกัน

จะส่งผ่านพลังงานได้ต่างกัน มาก น้อย อยู่ที่...
ความเร็วคลื่น จะขึ้นอยู่กับตัวกลาง

ดูตัวเลือกเพื่อตัด 4. ตัดทิ้งได้ เพราะไม่เท่ากันได้แน่นอน...
เสียง ผ่านตัวกลางไหนได้เร็วที่สุด ของแข็ง คลื่นอื่นก็เช่นกัน... ของแข็ง ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อนุภาคของแข็งอยู่ชิดกันที่สุด

สรุป คลื่นไหวสะเทือน มี 4 แบบ Pยาว, Sขวาง, Loveฟันเลื่อย, Raylieghขึ้นลง

Onet54 ข้อ 56


56. ในการแบ่งชั้นของโลกตามลักษณะมวลสาร ชั้นเนื้อโลกส่วนใหญ่มีสถานะในข้อใด
    1. ของแข็ง
    2. ของเหลว
    3. ของไหล
    4. แก๊ส
อธิบาย การแบ่งโครงสร้างโลก มีชั้นต่างๆ คือ
Crust (0-100Km) เปลือกโลก เคลื่อนที่อยู่ เพราะมีชั้น Mantle (เนื้อโลก) เปลือกโลกแบ่งย่อยเป็น ธรณีภาค กับ ฐานธรณีภาค
แบ่งเป็น Continental Crust เปลือกทวีป SiAl เบา
กับ Oceanic Crust เปลือกสมุทร SiMa หนัก

Lithosphere ธรณีภาค ของแข็ง เอาเปลือกรวมกับธรณีภาคชั้นบน
Asthenosphere ฐานธรณีภาค พลาสติก Plastic หินหนืด

Mantle (Crust-2900Km) เนื้อโลก เป็นของแข็ง หินหนืด จัดเป็นของแข็ง แบบพลาสติก

Outer Core (Mantle-5100Km) แก่นนอก เหลว Liquid ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก โลกหมุน จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก
Inner Core (Outer Core-6378Km) แก่นใน แกนเหล็กแข็ง Solid

รู้จักส่วนประกอบโลกอย่างไร
P-wave ตามยาว อัด ขยาย ผ่านได้ทั้งแข็ง เหลว
S-wave ตามขวาง ขึ้น ลง ผ่านของแข็งอย่างเดียว

    จะพบว่า คำตอบคือ ของแข็ง

Onet54 ข้อ 55


55. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เราสามารถศึกษาลักษณะและส่วนประกอบของโลกของเราเมื่อครั้งแรกเริ่มได้จากวัตถุในข้อใด
    1. หินบะซอลต์
    2. เพชร
    3. อุกกาบาต
    4. อุลกมณี

อธิบายคำสำคัญ "ลักษณะส่วนประกอบโลกเมื่อแรกเริ่ม" ดังนั้น มันต้องเป็นวัตถุโบราณ
    1. หินบะซอลต์ คือ หินอัคนี ที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว
หินอัคนี มี 2 แบบ คือ เร็ว (พุ) กับ ช้า (แทรกซอน)
    บะซอลต์เป็นหินอัคนีที่เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (พุ) พบบริเวณพื้นมหาสมุทร พาอัญมณีแทรกซอนขึ้นมาพร้อมลาวา ก็จะพบ ทับทิม พลอย ฯลฯ จ.จันทบุรี กาญจนบุรี จะมีเหมืองพลอย
    2. เพชร คือ C จับกัน 4 ตัว เรียงตัวแบบพิเศษ โครงผลึกร่างตาข่าย ทำให้แข็งแรงมาก เป็นแร่ธรรมชาติที่แข็งที่สุด กากเพชรนำไปเคลือบตามฟันมีด ใบเลื่อย ทำให้สามารถตัดวัตถุอื่นๆ ได้ ถามว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่ของโลกเป็นคาร์บอนหรือไม่ ตอบ คือไม่ใช่
    4. อุลกมณี คือ textite หินบนโลกที่อยู่รอบๆ บริเวณอุกกาบาตตก มีรูปร่างแปลก เพราะหลอมละลายจากความร้อนที่ได้รับจากอุกกาบาต มีความวาวด้วย ดูแล้ว ไม่ใช่สภาพของโลกที่เกิดใหม่
    3. อุกกาบาต คือ คำตอบ เพราะแรกเริ่ม ระบบสุริยะ เริ่มจาก เนบิวลา (กลุ่มก๊าซ) รวมตัวกันแน่นๆๆๆๆ ขึ้น จนตรงกลางรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ แล้วจะมีจานอยู่รอบๆ เศษที่อยู่ในบริเวณจาน จะค่อยๆ รวมกันเป็นดาวเคราะห์ นอกจากนี้เศษหลงเหลือก็จะรวมกันเป็นอุกกาบาตลอยเคว้งอยู่ ดาวเคราะห์วงใน พุธ ศุกร์ วงนอก อังคาร ดาวเคราะห์น้อย พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต ...

จากตรงนี้จะเห็นว่า โลกแรกเริ่ม กับ อุกกาบาต เกิดพร้อมๆ กัน
    จะพบว่า โลกแรกเริ่ม คือ เกิดพร้อมๆ โลก หินบะซอลต์ เพชร อุลกมณี ล้วนเกิดหลังจากมีโลกแล้ว ดังนั้น ข้อ 55 จึงตอบ 3

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อ 73 กรกฎา 53 PAT Earth Science'53

73. การเกิดสภาพทางธรรมชาติของสถานที่ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพภายในโลก
    ก. เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
    ข. แพะเมืองผี จังหวัดแพร่
    ค. แท่งหินบะซอลท์ อำเภอเขาสิง จังหวัดตราด
    ง. เสาเฉลียง จังหวัดอุบลราชธานี
    จ. ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่

    1. ก ข ง
    2. ก ค จ
    3. ข ค ง
    4. ค ง จ

    อธิบาย สภาพภายในโลก... ธรณีวิทยา เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ
    1. กระบวนการภายในโลก (Internal Processes) การเคลื่อนที่ของหินหนืด แมกม่า เกิดจากพลังงานภายในโลก ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่างๆ
    2. กระบวนการภายนอก (External Processes) การกัดเซาะ ผุพัง จากอากาศ ลม น้ำ ฯ หรือจากนอกโลกจริงๆ เช่น อุกกาบาต หมายถึง เกิดจากสิ่งที่อยู่นอกจากพื้นผิวโลก ใช่หมดเลย
 
    ก. เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ... หินทรายสีชมพู นานไปถูกกัดกร่อน คือตัวปราสาท แต่พนมรุ้ง คือ ภูเขาเฉยๆ ซึ่งเมื่อเป็นเขา ก็คือเกิดจากกระบวนการภายใน
    ข. แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ ... เป็นเสาดิน เกิดจากการกัดเซาะของน้ำบนหินทราย เกิดเมื่อประมาณ 2 ล้านปีมานี้เอง ถือว่าเป็นของใหม่ หินทราย มีความหยาบละเอียดไม่เท่ากัน ทำให้บางบริเวณกัดเซาะได้แตกต่างกัน คงเหลือบางส่วนเป็นรูปเสา การกัดเซาะเป็นกระบวนการภายนอก ดังนั้น ข จึงผิดแน่นอน
    ค. แท่งหินบะซอลท์ อำเภอเขาสิง จังหวัดตราด ... เกิดจากลาวาไหลลงมาข้างบนสัมผัสอากาศ เย็นลง แข็ง แต่ด้านล่างยังร้อนเหลวอยู่ เกิดแรงตึง ทำให้เกิดการแตกออกในด้านบน จัดเป็นกระบวนการภายใน ค ถูกต้อง
    ง. เสาเฉลียง จังหวัดอุบลราชธานี ... อยู่ในอุทยานผาแต้ม เป็นพื้นที่ตะวันออกของไทย เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใคร เกิดจากหินทราย 2 ประเภท ทับกันอยู่ เกิดการกัดเซาะของน้ำ ลมนานมากๆ หลายล้านปี จึงเกิดเป็นเสารูปร่างแปลกๆ มีอายุเก่าแก่มากกว่าแพะเมืองผี เป็นกระบวนการภายนอก ข้อนี้ จึงไม่ใช่ พิจารณาถึงแค่นี้ ก็จะเลือกคำตอบได้แล้ว

ข้อ่ที่ตอบไม่ได้ คือ ข กับ ง แน่นอน
ดังนั้น ข้อ 2 จึงถูกต้อง แต่เรามาดูกันต่อที่ จ.

    จ. ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ... เป็นแหล่งท่องเที่ยว บนเทือกเขา ที่ต่อมาจากแนวเทือกเขาหิมาลัย ในอินเดีย เนปาล เลย เป็นจุดสูงสุดของไทย... หิมาลัย เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก โดยหินหนืดพาเคลื่อน เกิดจากกระบวนการภายใน ดังนั้น เมื่อขึ้นชื่อด้วยเขา จึงมักเกิดจากกระบวนการภายใน

    2. ก ค จ จึงถูกต้องแน่นอน เพราะเกิดจากกระบวนการภายในโลก

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อ 75 ต.ค. ติวโอเน็ต Earth Science'53

75. วัตถุใดต่อไปนี้เคลื่อนที่หรือปรากฎให้เห็นบนแนวเส้นสุริยะวิถี
ก. ดวงจันทร์
ข. ดาวอังคาร
ค. กระจุกดาวลูกไก่
ง. กลุ่มดาวหมีใหญ่
จ. ดาวเหนือ
ฉ. กลุ่มดาวสิงโต
ช. กลุ่มดาวสุนัขใหญ่

    1. ก ข ค ฉ
    2. ก ข จ ช
    3. ข ง จ ช
    4. ค ง จ ฉ
อธิบาย ... ดูเรื่องทรงกลมท้องฟ้า Celestial Sphere ก่อน

ข้อ 74 ต.ค. ติวโอเน็ต Earth Science'53

PAT ตุลา 53 : โลกและดาราศาสตร์
ข้อ 74 ข้อใดจับคู่หินแปรกับหินต้นกำเนิดที่ถูกแปรสภาพไม่ถูกต้อง
1. หินไนส์แปรจากหินแกรนิต
2. หินอ่อนแปรจากหินปูน
3. หินชีสต์แปรจากหินดินดาน
4. หินควอดไซต์แปรจากหินทราย

     อธิบาย จะทำข้อนี้ได้ ต้องรู้จักหินก่อน ... นักเรียนลืมหรือยัง
หิน 3 ชนิดหลัก 1. อัคนี 2. ตะกอน 3. แปร
1. หินอัคนี มี 2 แบบ คือ
        1) อัคนีแทรกซอน เย็นตัวช้าๆ มีดอกๆ
        2) อัคนีพุ เย็นตัวรวดเร็ว จะไม่เห็นเป็นดอก แร่ต่างๆ จะตกผลึกไม่ทัน
จากอัคนี จะเกิดการผุพัง สะสมกลายเป็นหินตะกอนหรือหินชั้น (เพราะมันสะสมกันเป็นชั้นๆ เรื่อยๆ)
2. หินตะกอน มี 2 แบบ คือ
        1) ตะกอนเคมีมีการเชื่อมประสาน ตะกอนชีวภาพเป็นการทับถมของซากหอย เปลือกหอย แพลงก์ตอน
        2) ตะกอนเศษหิน ทราย กรวดมน กรวดเหลี่ยม
3. หินแปร เมื่อผ่านความร้อน ความดัน หินอัคนี หินตะกอน หินแปร จะกลายเป็นหินแปรได้

... แล้วคราวนี้มาดูว่า ข้อใดถูกต้อง
1. หินไนส์แปรจากหินแกรนิต ... แกรนิตเป็นเม็ดแข็งใช้วางพื้น หินไนส์เป็นริ้วขนาน คือ เม็ดๆ ถูกความร้อนความดัน จนแปรสภาพ ข้อนี้ถูกต้อง
2. หินอ่อนแปรจากหินปูน ... การแปรมี 2 แบบ คือ 1) แปรไพศาล เปลือกโลกมุดกัน แปรทั้งหมดเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เกิดริ้วขนาน 2) แปรสัมผัส เป็นชั้นหินที่อยู่ดีดีก็มีแม็กม่าแผ่เข้ามา หินที่ได้รับความร้อนจากการสัมผัสกับแม็กม่า ก็จะแปร ไม่กว้างเท่าแบบแรกเพราะเกิดเพียงบริเวณที่สัมผัส ไม่มีริ้วขนาน สำหรับข้อนี้เป็นการแปรแบบสัมผัส ถูกต้อง
4. หินควอดไซต์แปรจากหินทราย Quartize เกิดจากการประกอบของ Quart (เม็ดทราย)
3. หินชีสต์แปรจากหินดินดาน ... ไม่ถูก คำตอบข้อนี้ จึงถูกต้อง เพราะหินชีสต์แปรจากหินชนวน

ข้อ 73 ต.ค. ติวโอเน็ต Earth Science'53

PAT ตุลา 53 : โลกและดาราศาสตร์
ข้อ 73 การค้นพบซากฟอสซิลของหอยดึกดำบรรพ์บนภูเขาสูงแสดงให้เห็นว่า...
1. หอยในสมัยโบราณอาศัยอยู่บนบก
2. บริเวณที่พบซากฟอสซิลเคยเป็นพื้นที่ใต้ทะเล
3. ซากฟอสซิลถูกตะกอนพัดพาไปยังบริเวณภูเขาสูง
4. หอยเหล่านี้ถูกสิ่งมีชีวิตในยุคเดียวกันกินแล้วนำซากไปทิ้งไว้

อธิบาย เป็นอย่างไร เกิดเหตุอะไรขึ้น มันเกี่ยวกับธรณีวิทยา เริ่มจากการลำดับอายุทางธรณีวิทยา ... นักเรียนลืมหรือยัง
หลักการ "Present is the key to the past" ปัจจุบันเป็นกุญแจไปสู่อดีต
... เช่น ถ้าปัจจุบันเห็นน้ำตก ตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ อดีต ก็คงจะเป็นเช่นนั้น ...
... ทางธรณีวิทยาจะบอกว่า ในอดีตเกิดอะไรขึ้นบ้าง และมันจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

การหาอายุของหิน แบ่งเป็น 2 แบบ
1. Absolute dating อายุสัมบูรณ์ คิดเป็นตัวเลขออกมา เช่น ใช้กัมมันตภาพรังสี C-14 ที่มันจะค่อยๆ ปล่อยออกมา แล้วเขาจะหาอัตราส่วนระหว่าง C-14 กับ C-12 จะได้อายุออกมาเป็นตัวเลข เช่น 100 ล้านปี เป็นต้น
2. Relative dating อายุสัมพัทธ์ เป็นการเปรียบเทียบ ไม่ออกมาเป็นตัวเลข แต่ออกมาว่า อะไรแก่กว่า อะไรอ่อนกว่า เป็นการบอกว่า สิ่งนี้เกิดก่อนสิ่งนี้ เป็นต้น อายุสัมพัทธ์นี้ ใช้อ้างอิงได้ถึง 3 ทฤษฎี ได้แก่
1) กฎการวางตัวในแนวนอน
2) Law of Superposition กฎการซ้อนทับกัน หินที่แก่กว่าจะอยู่ข้างล่าง อ่อนกว่าก็จะอยู่ด้านบนไปเรื่อยๆ
3) Law of Cross cutting กฎการตัดกัน ถ้าเกิดชั้นหินแนวนอน แล้วมีหินแทรกตัดขึ้นมา หินที่ตัดมา จะใหม่กว่า หมายถึงมีอายุอ่อนกว่า หินที่ถูกตัด

วิเคราะห์ตัวเลือก...
1. หอยในสมัยโบราณอาศัยอยู่บนบก ... ตามหลักการ "Present is the key to the past" ปัจจุบันเป็นกุญแจไปสู่อดีต จะไม่ใช่แน่นอน... เพราะปัจจุบัน หอยก็อยู่ในน้ำ ดังนั้น ข้อนี้ไม่ใช่
3. ซากฟอสซิลถูกตะกอนพัดพาไปยังบริเวณภูเขาสูง ... ปกติ การพัดพา มันลงสู่ที่ต่ำ ไม่น่าจะไปสู่ที่สูง ข้อนี้จึงไม่น่าจะใช่
4. หอยเหล่านี้ถูกสิ่งมีชีวิตในยุคเดียวกันกินแล้วนำซากไปทิ้งไว้ ... ปกติ กินที่ใด มักทิ้งซากตรงนั้น ... ไม่ไกลจากแหล่งที่อยู่ ข้อนี้ จึงไม่ใช่
คงเหลือ ข้อ 2
2. บริเวณที่พบซากฟอสซิลเคยเป็นพื้นที่ใต้ทะเล ... ข้อนี้ล่ะ ที่น่าจะถูกที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

โพธิ์

ชื่อพันธุ์ไม้ ... รหัสพรรณไม้ ...
ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์
 ...
 ...
 ...
 ...
มาตราส่วนรูปภาพ

  บริเวณที่สำรวจ   วันที่สำรวจ
   ผู้สำรวจ ชั้น
   ผู้ร่วมสำรวจ 1 ชั้น
   ผู้ร่วมสำรวจ 2 ชั้น
   ผู้ร่วมสำรวจ 3 ชั้น
   ผู้ร่วมสำรวจ 4 ชั้น
   ผู้ร่วมสำรวจ 5 ชั้น
โรงเรียน ... ถนน ... ตำบล ... อำเภอ ... จังหวัด ... รหัสไปรษณีย์ ...

# Page 1 ข้อมูลพื้นบ้าน
(ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ และข้อมูลอื่น ๆ จากการสอบถามคนในท้องถิ่น)
ชื่อพื้นเมือง (ชื่อในท้องถิ่นที่เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้) ...
การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น (ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการใช้) :
  อาหาร  ...
  ยารักษาโรค  ...
ก่อสร้าง เครื่องเรือน เครื่องใช้  ...
  ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ...
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม หรือความเชื่อทางศาสนา ...
  อื่น ๆ (เช่น การเป็นพิษ อันตราย)  ...
ที่มาของข้อมูล: ผู้ให้ข้อมูลชื่อ ... อายุ ... ที่อยู่  ...
วันที่บันทึกข้อมูล ...สถานที่บันทึก  ...

# Page 2 ข้อมูลพรรณไม้
ลักษณะวิสัย (habit)
    ไม้ต้น (tree)
    ไม้พุ่ม (shrub)
    ไม้ล้มลุก (herb)
    ไม้เลื้อย (climber)
    ไม้รอเลื้อย (scandent)
ลักษณะวิสัยอื่นๆ
    ไผ่ (bamboo)
    เฟิร์น (fern)
    กล้วยไม้ (orchid)
    ปาล์ม (palm)
เรือนยอด ทรงพุ่ม (crown shape)
    กลม (rounded)
    รูปร่ม (umbellate)
    รูปไข่ (oval)
    ทรงกระบอก (cylindric)
    รูปกรวย (conical)
    อื่นๆ
ถิ่นอาศัย (habitat)
    พืชบก (terrestrial)
    พืชอิงอาศัย (epiphyte)
    กาฝาก (parasite)
    พืชน้ำ (aquatic) :
        พืชใต้น้ำ (submerged plant)
        พืชลอยน้ำ (floating plant)
        พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant)
        พืชชายน้ำ (marginal plant)
ลำต้น (stem)
    ลำต้นใต้ดิน (underground stem) :
        เหง้า (rhizome)
        หัวแบบมันฝรั่ง (tuber)
        หัวแบบหัวหอม (bulb)
        หัวแบบเผือก (corm)
    ลำต้นเหนือดิน (aerial stem) :
       

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx


# Page 8 สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
(สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้ตั้งแต่หน้า 2-7 และข้อมูลพื้นบ้านหน้า 1 โดยเขียนเป็นเรียงความบรรยาย)
ชื่อพันธุ์ไม้ ... รหัสพรรณไม้ ...
...

# Page 9 ข้อมูลพฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์  ... ชื่อวงศ์  ... ชื่อสามัญ  ... ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ  ... ถิ่นกำเนิด  ... การกระจายพันธุ์: ในประเทศไทย  ... ในประเทศอื่น ๆ  ... นิเวศวิทยา  ... เวลาออกดอก  ... เวลาติดผล  ... การขยายพันธุ์  ... การใช้ประโยชน์ ... ประวัติพันธุ์ไม้ (การนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย) ... เอกสารอ้างอิง ...

# Page 10 บันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
เช่น ประวัติพันธุ์ไม้ (ประวัติการนำเข้ามาปลูกในโรงเรียน) เวลาการออกดอก หรือติดผลนอกฤดูกาล หรืออื่น ๆ

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

ชื่อพันธุ์ไม้ รหัสพรรณไม้ 12 ชนิด

งานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน
ที่รับผิดชอบเติมเต็มข้อมูลโดย อ.บรรหาร  เจ๊กนอก

1. ชื่อพันธุ์ไม้ โพธิ์ รหัสพรรณไม้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus religiosa  L.
ชื่อสามัญ: Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Bohhi Tree, Bo Tree, Peepul
ชื่ออื่น: โพ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), สสี (ภาคเหนือ), ย่อง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
วงศ์: MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. มียางสีขาว
     ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู
     ดอก ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล
     ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ

2. ชื่อพันธุ์ไม้ กระถิน รหัสพรรณไม้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์    Leucaena glauca Benth.
ชื่อสามัญ    White popinac, Wild tamarind, Leadtree
วงศ์    LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นๆ   กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
    1. ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20 ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม.ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยวขอบมีขน ท้องใบมีนวล
    2. ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
    3. ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก
การปลูก
    กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
    ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ราก เมล็ด
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
    1. ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
    2. ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
    3. เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
ขนาดและวิธีใช้
    ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม เด็กใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน รับประทานตอนท้องว่างในตอนเช้าเป็นเวลา 3-5 วัน
ประโยชน์ทางอาหาร
    ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน และฝักอ่อน
คุณค่าทางโภชนาการ
    ยอดอ่อนของกระถิน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย62กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 80.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน0.9 กรัม กาก 3.8 กรัม แคลเซียม 137 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม เหล็ก 9.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7883 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.33 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม

3. ชื่อพันธุ์ไม้ กางขี้มอด รหัสพรรณไม้ 
ชื่อ Thai Name : กางขี้มอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name : Albizia odoratissima (L.f.) Benth.
ชื่อวงศ์ Family : FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ชื่อเรียกอื่น Other Name : กางแดง คางแดง จันทน์ มะขามป่า
ลักษณะ Characteristics
    ไม้ต้น สูง 10-15 เมตรปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล ระบายอากาศ   ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 10-16 คู่ รูปขอบขนานแกมเบี้ยว กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 1.1-3.5 ซม.  ดอก สีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่ง ยาว 10-20 ซม. ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก รวมกันเป็นกลุ่ม กลีบรองดอกรูปหลอดปลายเป็นซี่เล็ก กลีบดอกรูปกรวย ยาว              6.5-9 มม. ปลายแยกเป็นแฉก เกสรผู้จำนวนมาก    ผล  เป็นฝักแบนรูป ขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 17-20 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม และแตกด้านข้าง  เมล็ด รูปรีกว้าง
Tree, 10-15 m high, shoots and young branches sparse with lenticels. Leaves bi-pinnately compound, 20-30 cm long; leaflets 10-16 pairs per pinnae, oblique lanceolate, 1.1-3.5 cm long by 0.6-1.2 cm wide. Inflorescence axillary panicle, 10-20 cm long. Flowers white; calyx lobes with small teeth; corolla funnel shaped, 6.5-9 mm long; stamens numerous. Pod flat, oblong, 17-20 cm long, 2.5-3 cm wide, dark brown. Seeds broadly elliptic.
การกระจายพันธุ์ Distribution
จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ประเทศไทยขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับ ความสูงถึง 1,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
India to Southeast Asia, in hill evergreen forests and dry evergreen forests, from lowlands up to 1,000 m. Flowering from March to May.
ประโยชน์ Utilization
เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน หรือทำเฟอร์นิเจอร์
The wood is good for furniture and in shade construction.
แหล่งข้อมูล Reference
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
Book 'Queen Sirikit Botanic Garden', Vol. 7, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden

4. ชื่อพันธุ์ไม้ มะม่วง รหัสพรรณไม้ 
ชื่ออื่น ๆ : มะม่วงบ้าน (ทั่วไป), แป (ละว้า-เชียงใหม่), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ส่าเคาะส่า, สะเคาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะม่วงสวน (ภาคกลาง), โตรัก (ชาวบน-นครราชสีมา), เจาะช้อก, ช้อก (ชอง-จันทบุรี), ขุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), โคกและ (ละว้า-กาญจนบุรี),เปา (มลายู-ภาคใต้), สะวาย (เขมร), มั่วก้วย (จีน)

ชื่อสามัญ : Mango Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.
วงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวของลำต้น
ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตาม
ก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างจะหนา
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวล ๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก
ผล : เมื่อดอกโรยก็จะติดผล มีลักษณะต่างกันแล้วแต่ละพรรณเช่น บางทีมีเป็นรูปมนรี ยาวรี หรือเป็นรูปกลมป้อม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนผสมพิเศษ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการทาบกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ผล เมล็ด

สรรพคุณ :
เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อ ปากอักเสบ เยื่อเมือกในจมูกอักเสบ หรือใช้สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว
ใบ ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียดพอกบริเวณแผลสด หรือใช้ล้างบาดแผล เป็นต้น
ผล ใช้ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนวิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร เป็นต้น
เมล็ด ใช้เมล็ดสด ประมาณ 2-3 เม็ด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด แก้ไส้เลื่อน และแก้ไอ


ข้อห้ามใช้ : สำหรับบุคคลที่รับประทานอาหารมากเกินไป หรือผู้ป่วยหลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ ห้ามกินผลมะม่วงสุกรวมกับกระเทียมและของเผ็ด ทุกชนิด

อื่น ๆ : มะม่วงเป็นพรรณไม้ใหญ่ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลืองอ่อน นอกจากใช้เป็นสมุนไพรแล้ว ยังใช้ก่อสร้างตกแต่งภายในบ้าน หรือใช้ทำหีบกล่องได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. น้ำที่คั้นจากใบ เมื่อนำมาทดสอบกับคน ถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่นคัน หรือทำให้แพ้
ได้
2. น้ำที่กรองเอาจากการต้มของใบ เปลือกลำต้น และผลดิบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ
แบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Micrococcus pyogenes
3. สัตว์ตัวเมีย เมื่อกินใบสดของมะม่วงมีอาการ คล้ายกับได้รับฮอร์โมนเพศหญิง

5. ชื่อพันธุ์ไม้ วาสนา รหัสพรรณไม้ 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracaena fragrans (L.) Ker-GawI.
ชื่อสามัญ: Cape of Good Hope, Dracaena
ชื่ออื่น: ประเดหวี มังกรหยก (กรุงเทพฯ)
วงศ์: AGAVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
     ไม้พุ่ม สูง 5-10 ม. ลำต้นกลมจะไม่มีกิ่งก้านสาขา แต่จะมีข้อติดๆ กัน
       ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ที่ี่ปลายยอด ใบเดี่ยว รูปหอกเรียวยาวโค้งลงสู่พื้นดิน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 30-120 ซม. โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายใบแหลมงองุ้มลง ขอบใบเรียบหรืออาจบิดเป็นลอน ใบอาจมีสีเขียวเข้มหมดทั้งใบ หรือสีขาวอมเขียวหรือลายเหลืองนวลหรือลายขาวนวล ตลอดความยาวใบมีความเข้มของลายแตกต่างกัน ตำแหน่งของลายอาจอยู่กลางใบหรือริมใบ
        ดอก ดอกช่อขนาดใหญ่ มีสีชมพูอ่อนถึงขาว ช่อดอกยาว 40-60 ซม. ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ใบประดับแห้งสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก บานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. กลิ่นหอมแรง ดอกบานช่วงกลางคืน ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงกลางหรือปลายฤดูหนาว ซึ่งจะออกดอกหลังจากวันที่มีความหนาวมากที่สูดเป็นตัวกระตุ้น เกสรเพศผู้ 6 อัน

6. ชื่อพันธุ์ไม้ สนทะเล รหัสพรรณไม้ 

ชนิดไม้  สนทะเล
ชื่อพื้นเมือง  กู (นราธิวาส)  สนทะเล (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Casuarina equisetifolia  J.R. & G. Forst.
ชื่อวงศ์  CASUARINACEAE

ลักษณะทางนิเวศวิทยา  เป็นไม้ที่ขึ้นเป็นหมู่ เป็นพืชอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทรายหรือทราย และมีการระบายน้ำทั่วไป มักจะพบมากตามชายฝั่งตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ตั้งแต่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จนถึงโพลีนีเซีย ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-35 องศาเซลเซียส

ประโยชน์
    1.  ใช้เป็นเชื้อเพลิง  เป็นไม้ที่ติดไฟได้ดีและให้ความร้อนสูงมาก จนได้รับขนานนามว่า เป็นไม้ฟืนที่ดีที่สุดในโลก ติดไฟได้สม่ำเสมอทั้งไม้สดและไม้แห้ง และสามารถนำไม้มาใช้เผาเป็นถ่านได้ดี ให้ค่าความร้อน 7,410 แคลอรี่/กรัม นอกจากนี้ขี้เถ้าของไม้สนทะเลยังเก็บความร้อนไว้ได้นานอีกด้วย
    2.  ใช้ประโยชน์ในการฟอกหนัง  เปลือกของไม้สนทะเลมีน้ำฝาดและสีซึ่งมีเทนนิน อยู่ประมาณ 6-18% น้ำฝาดจากเปลือกสนทะเลใช้ในการฟอกหนัง โดยการซึมซาบเข้าไปในหนังที่ฟอกอย่างรวดเร็ว ทำให้หนังพองตัวและมีลักษณะอ่อนนุ่ม สีของหนังที่ฟอกด้วยเปลือกสนทะเลจะเป็นสีน้ำตาลปนแดงอ่อนๆ
    3.  ใช้ประโยชน์ในการทำกระดาษ  เนื้อไม้ของสนทะเลสามารถนำมาใช้ทำกระดาษได้โดยใช้ Neutral sulfite semi-chemical
    4.  เนื้อไม้ใช้ทำเสาเข็มในการก่อสร้าง  เสาโป๊ะ  เสาบ้าน  เสาไฟฟ้า  ทำเป็นโครงนั่งร้าน ด้ามเครื่องมือ  ด้ามแจว  แอก  ล้อเกวียน เป็นต้น
    5.  ใช้เป็นสมุนไพร  สามารถนำเปลือกมาต้มกับน้ำเป็นยาฝาดสมานใช้รักษาโรคท้องเดินเรื้อรังและแก้บิด  กิ่งแขนงเอามาชงกับน้ำรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
    6.  ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ปลูกตามหาดทรายทะเลเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเล ปลูกเป็นแนวกันลมได้ดี  ใช้ปลูกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องการใช้ที่ดินเสื่อมโทรมให้เป็นประโยชน์    ใช้ปลูกเป็นรั้วบ้าน  นิยมนำสนทะเลไปปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากตัดและตกแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ได้สวยงาม

7. ชื่อพันธุ์ไม้ สาระลังกา รหัสพรรณไม้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Couroupita guianensis Aubl.
ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae
ชื่อสามัญ : Cannon-ball tree
ชื่อพื้นเมือง : ลูกปืนใหญ่
  ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ต้น
  ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 30 เมตร
  สีดอก [Flower Color] : สีชมพูอมเหลืองหรือแดง
  ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Tiem] : เกือบตลอดปี
  อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
  ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
  ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
  แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ต้นชนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด
ใบ (Foliage) :  ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8
เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา
ดอก (Flower) :   สีชมพูอมเหลืองหรือแดง  ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู   มีกลิ่นหอมมาก   ออกดอกเป็นช่อแบบ
ช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น   ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร   ปลายช่อโน้มลง   กลีบดอกหนา  4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง  เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจาก
โคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร
ผล (Fruit) :    ผลแห้ง  ทรงกลมใหญ่  ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกเเข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น
มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่

 การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) :  ปลูกประดับสวน   ดอกสวยมีกลิ่นหอมแรง   บานได้นาน  ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ปลูกในพื้นที่กว้าง เช่น สวนในวัด สวนป่า สวนสาธารณะ ปลูกริมทะเล ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น

8. ชื่อพันธุ์ไม้ สัก รหัสพรรณไม้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์    Tectona grandis L.f.
วงศ์     VERBENACEAE
ชื่อสามัญ    Teak
ชื่ออื่น ๆ    เซบ่ายี้  ปีฮือ ปายี้ เป้อยี
    ไม้ต้น    ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน   ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น
    ใบ    เดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน   ยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม   ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด
    ดอก    ขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง
    ผล    แห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด
    นิเวศวิทยา    ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ออกดอก    ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน - ตุลาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ปักชำ
วิธีเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
    นำเมล็ดแช่น้ำ 2 วัน สลับผึ่งแดด 1 วัน รวม 15 วัน แล้วหว่านในแปลงเพาะให้กระจัดกระจายทั่วกัน   กลบด้วยวัสดุเพาะชำ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรืออาจทำร่องแล้วหว่านลงในร่องจะสะดวกในการกลบ และเมล็ดจะงอกอย่างเป็นระเบียบ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง เมล็ดสักจะงอกไม่พร้อมกัน บางเมล็ดงอกภายใน 3 สัปดาห์ บางเมล็ด 2 ปีจึงงอก
    การปักชำ
    -   เลือกไม้สายพันธ์ดีที่ต้องการขยายพันธุ์ (ต้นแม่พันธุ์)
    -   เลือกตัดชิ้นส่วนของไม้ที่พัฒนาเป็นกล้าไม้ได้ง่าย
    -   นำไปกระตุ้นการออกรากและลำต้นด้วยสารเคมี   (สารเคมีมีขายตามท้องตลาด)
    -   นำส่วนของพืชที่ได้รับการกระตุ้นแล้วไปไว้ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิได้ และดูแลจนกว่าส่วนของพืชที่นำมาปักชำจะสร้างรากและลำต้น
    -   นำกล้าไม้ที่ออกรากและลำต้นไปอนุบาลจนกล้าไม้เริ่มแข็งแรง
    -   นำกล้าไม้ออกไปกลางแจ้งเพื่อให้กล้าไม้ปรับตัวและแข็งแรงพอที่จะนำไปปลูกได้

ประโยชน์ เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเตคโตคริโนน

9. ชื่อพันธุ์ไม้ หมากเหลือง รหัสพรรณไม้ 
ชื่อไทย                 หมากเหลือง
ชื่อสามัญ              Yallow palm
ชื่อวิทยาศาสตร์     Chrysalidocarpus lutescens.
ตระกูล                 PALMAE
วงศ์                    Palmae (Arecaceae)
ถิ่นกำเนิด             มาดากัสก้า
ลักษณะโดยทั่วไป
        หมากเหลืองเป็นปาล์มที่มีหน่อเป็นกอขึ้นรวมกัน กอหนึ่งจะมีประมาณ 6 - 12 ต้น สูงประมาณ 25 - 30 ฟุตลำต้นมีข้อปล้องโค้งออกจากโคนกอ แลดูสวยงามยิ่ง ใบเป็นใบรูปขนนก ทางใบยาว 6 - 8 ฟุต กาบใบจะ ห่อหุ้มลำต้นไว้ หมากเหลืองเป็นปาล์มที่ได้รับความนิยม นำมาตกแต่งประดับประดาตามสถานที่เป็นอย่าง มาก เพราะความสวยงามและมีรูปร่างที่ไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่จนเกินไป
การปลูก
        นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์          โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ
การดูแลรักษา
แสง                         ชอบแสงแดด ควรปลูกในที่โล่ง กลางแจ้ง
น้ำ                           ในระยะกำลังเจริญเติบโตควรรดน้ำทุกวัน
ดิน                           ควรเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุพอสมควร
ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง
โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคที่ทำความเสียหาย จะมีปัญหาก็แต่แมลงเท่านั้น ได้แก่ หนอนปลอก หนอนเจาะลำต้น
การป้องกันกำจัด       ใช้ไซกอนอัตรา 20 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วบริเวณโคนต้น


10. ชื่อพันธุ์ไม้ อโศกเซนคาเบียล รหัสพรรณไม้ 
ชื่อพื้นเมือง                  อโศกเซนต์คาเบรียล โสกอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์           Polyalthia longifolia (Benth.)   Hook. f. var. pandurata
ชื่อวงศ์                         Annonaceae
ชื่อสามัญ                     Asoke tree, Cemetary tree, Mast tree
แหล่งกระจายพันธุ์      ประเทศอินเดียและศรีลังกา
ลักษณะ                       ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ   ใบ (Foliage) :    ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
   ดอก (Flower) :   สีครีมหรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง
ผล (Fruit) :  ผลสด เป็นแบบผลกลุ่ม รูปไข่กลับ  ผลแก่สีเหลืองอมเขียว มีเมล็ดเดียว
ประโยชน์        ใช้เป็นไม้ประดับ


11. ชื่อพันธุ์ไม้ ฮวงไซ รหัสพรรณไม้ 
1. ชื่อ ธนนไชย
2. ชื่ออื่น ศรีธนนไชย พังพวยนก พังพวยป่า ลันไชย รวงไซ รางไซ รางไทย
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Buchanania siamensis Miq.
4. วงศ์ ANACARDIACEAE
5. ชื่อสามัญ                 -
6. แหล่งที่พบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก
7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นลำต้นเล็กถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5-15 เมตร ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนมีขนขึ้นประปราย เมื่อแก่ขนจะหลุดออก ผิวเปลือกขรุขระแตกเป็นสะเก็ดสีเทาหรือสีเทาปนดำ
ใบ เนื้อใบเปราะหนา ปลายใบมนหรือกลมหรือเว้าหยักเข้า โคนใบเรียวหรือสอบแคบๆ ผิวหลังใบเรียบเกลี้ยงอาจมีขนเล็กน้อย ใต้ท้องใบจะมีขนและเส้นแขนงของใบเห็นได้ชัดมาก มีประมาณ 9-13 คู่ ก้านใบสั้นประมาณ 2-3 มม.
ดอก สีขาวหรือสีขาวปนเหลือง กลีบดอกและกลีบรองดอกมี 5 กลีบ
ผล ผลค่อนข้างกลมสีม่วงเข้ม ปลายผลหยักหรือเว้าเล็กน้อย
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบ
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตามป่าโปร่งเป็นไม้ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดี ต้องการน้ำและ ความชื้นพอปานกลาง
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน
13. คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล
14. การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ
15. ลักษณะพิเศษ            -
16. ข้อควรระวัง            -
17. เอกสารอ้างอิง

12. ชื่อพันธุ์ไม้ เหลืองปรีดียาธร รหัสพรรณไม้ 
ชื่อ Thai Name : เหลืองปรีดียาธร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name : Tabebuia argentea Britt.
ชื่อวงศ์ Family : BIGNONIACEAE
ชื่อเรียกอื่น Other Name : Silver trumpet tree, Tree of gold, Paraguayan silver trumpet tree
ลักษณะ Characteristics
    ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ  ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร  ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
การกระจายพันธุ์ Distribution :
ถิ่นกำเนิด  อเมริกาเขตร้อน (ปารากวัย อาร์เจนตินา บราซิล)
ออกดอก  มกราคม – มีนาคม
การปลูกเลี้ยง  ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง
ขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด
ประโยชน์ Utilization : ปลูกเป็นไม้ประดับ
แหล่งข้อมูล Reference : หนังสือไม้ต่างถิ่นในเมืองไทย เล่มที่ 1