วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

21. ไผ่ขาว
20. ไผ่ซางหม่น
19. ไผ่เป๊าะยักษ์, ไผ่แม่ตะวอ, ไผ่มันหมู
18. ไผ่กิมซุง
17. ไผ่ยักษ์เมืองน่าน
16. ผักหวานป่า
15. การปลูกผักสวนครัว
14. การเลี้ยงปลานิลหมัน

13. การเพาะเห็ดฟาง

12. การเพาะเห็ดขอนขาว

11. การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

10. การปลูกมันสำปะหลัง

9. ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ :   Lemon Grass, Lapine
วงศ์ :   Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น :  จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป) เชิดเกรย , เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์)
ตะไคร้ อังกฤษ : Lemon grass, Oil grass

    ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.1 ถิ่นกำเนิด
    ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย ในทวีปอเมริกาใต้ และคองโก (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.2 ลักษณะโดยทั่วไป
    โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หางนาค ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางสิงห์ ตะไคร้หอม เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558) ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้  ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.3 การปลูกและขยายพันธุ์ 
    ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.4 สรรพคุณ
          9.4.1 น้ำมันตะไคร้ ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.2 ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
ทั้งต้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
                   1) รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
                   2) แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
                   3) ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
                   4) แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
                   5) แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
                   6) แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
          9.4.3 หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.4 ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558) ราก (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
                   1) แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
                   2) บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
                   3) รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
          9.4.5 ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.6 ใบสด มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.7 ต้น มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.5 วิธีและปริมาณที่ใช้ (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.5.1 แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
                   ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือ      
          9.5.2 ประกอบเป็นอาหาร
                   นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
          9.5.3 แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
                   ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
                   ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

    9.6 คุณค่าทางด้านอาหาร (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย

    9.7 สารเคมี (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
          ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%

8. ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Alpinia  galanga   (L.) Willd.
ชื่อสามัญ :   Galanga
วงศ์ :   Zingiberaceae
    ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) (อ้างอิง : ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549) 

    8.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม (อ้างอิง : ข่า ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ; เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_1.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    8.2 สรรพคุณ
    ข่าเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย ใช้ใส่ในต้มข่า ต้มยำ น้ำพริกแกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น แกงเหลืองและแกงกอและทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า มีบทบาทในการดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา นอกจากนั้น ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง (อ้างอิง : อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป. หน้า 12-14) ข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน  (อ้างอิง : ข่า จากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล)  เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้อาหารเป็นพิษ เป็นยาแก้ลมพิษ เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา วิธีและปริมาณที่ใช้ รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร รักษาลมพิษ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_1.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    8.3 สารเคมี
    1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_1.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    8.4 การปลูกข่า  
          8.4.1 การปลูกข่าหยวก (อ้างอิง : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2550 เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/150838 วันที่ 1 มกราคม 2558)
    การปลูกข่าหยวกเป็นอาชีพ มีกระจายอยู่ทั่วไปของประเทศไทย โดยเฉพาะการปลูกเชิงพาณิชย์ ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา   อ่างทอง   เพชรบูรณ์   ราชบุรี   อุบลราชธานี และนครสวรรค์เป็นต้น  ซึ่งเดิมประกอบอาชีพทำนามานาน และเกิดภาวะหนี้สินจากการทำนานับแสนบาท เพราะว่าพื้นที่ทำนาเสี่ยงต่อน้ำท่วมทุกปี จึงเกิดอาชีพเสริม ด้วยการเริ่มต้นปลูกข่า ในพื้นที่ 1 งาน ผลปรากฏว่ารายได้จากการปลูกข่าเพียง 1 งาน ทำรายได้ดีกว่าการทำนา และมีการดูแลรักษาน้อยกว่า  จากการพัฒนาอาชีพเสริมสู่อาชีพหลัก ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกข่าในพื้นที่ 5 ไร่  โดยในพื้นที่ 1ไร่จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,000-6,000 กิโลกรัม
    เหตุผลที่ปลูกข่าหยวกทั้งหมด เพราะเป็นข่าที่มีลักษณะเหง้าใหญ่ สีแดงออกชมพู  มีกลิ่นฉุน ตลาดต้องการข่าชนิดนี้มากที่สุด  สภาพดินที่เหมาะต่อการปลูกข่ามากที่สุดควรเป็นดินร่วนปนทราย และจะต้องเป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง การเตรียมดินมีการไถดะ  ไถแปรและพรวนชักร่องเหมือนกับการปลูกอ้อย  ระยะปลูกที่นิยมคือ 80X80 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่จะปลูกข่าได้ 2,500 หลุม ต้นพันธุ์ที่จะใช้ปลูกจะใช้เหง้าอ่อน หรือเหง้าแก่ก็ได้ โดยมีข้อเด่น และข้อด้อยต่างกันคือ เมื่อใช้เหง้าอ่อนจะเจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก แต่จะต้องซื้อพันธุ์ ด้วยต้นทุนสูง ในกรณีที่ใช้เหง้าแก่จะเจิญช้ากว่าหน่ออ่อน แต่การลงทุนค่าพันธุ์จะถูกกว่าหน่ออ่อนเท่าตัว  (ถ้าใช้หน่ออ่อนทำพันธุ์จะนิยมเหมาซื้อ โดยในพื้นที่ 1 งาน ใช้ค่าหน่อพันธุ์เป็นเงิน 6,000 บาท)
    ข่าที่ปลูกไปแล้วจะเริ่มขุดขาย เมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือน และจะทยอยขุดขายไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 2 ปี ช่วงที่เหมาะต่อการขุดข่าขายละมีน้ำหนักดีได้กำไรมากที่สุด ควรจะขุดขายในช่วงอายุ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง ในข่า 1 กอจะได้ข่าที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 8-10 กิโลกรัม และมีสัดส่วนของข่าอ่อนประมาณ 70 % และเป็นข่าแก่ประมาณ 30 %  ถ้าเกษตรกรขุดข่าเมื่ออายุปีครึ่งขึ้นไปจะมีสัดส่วนของข่าแก่มากกว่าข่าอ่อนตามลำดับ ในการขุดข่าขายดินจะต้องมีความชื้นจึงจะง่ายต่อการขุด ในการขุดแต่ละครั้งจะมีออร์เดอร์สั่งมา  จะขุดวันต่อวันเพื่อความสดและจะขุดในช่วงเช้า
    เคล็ดลับในการรักษาสภาพของเหง้าข่าให้คงความสดและสีสวยออยู่ได้นานจนถึงปลายทาง ด้วยการตัดแต่งรากและเหง้าให้เสร็จเรียบร้อย นำเหง้าจุ่มลงในน้ำสะอาดที่กวนด้วยสารส้ม (น้ำสารส้มจะช่วยรักษาเหง้าข่าให้ดูสดและสีสวย) หลังจากนั้นบรรจุข่าลงถุงพลาสติกใสน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อถุง   พ่อค้าจะมารับสินค้าในช่วงเวลาบ่าย   เพื่อนำไปยังตลาดต่อไป โดยเฉลี่ยราคารับซื้อข่าอ่อนจะเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาทและจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 15 บาทในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ และสงกรานต์ สำหรับข่าแก่จะขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3-5 บาท

สวนที่ทำการทดลองปลูกข่าเชิงการค้า (เข้าถึงได้จาก : http://www.mygreengardens.com/การเกษตร/วิธีปลูกข่าให้ได้ผลผลิ/ วันที่ 1 มกราคม 2558)
    ปัจจุบันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าโลกเราร้อนขึ้นทุกวันๆ โดยเฉพาะหน้าร้อนและแล้งมาขึ้นทุกๆ ปีอย่างเห็นได้ชัด การปรับตัวของทั้งมนุษย์ สัตว์และพืชเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกษตรที่ต้องขึ้นกับฟ้าฝนและอากาศจึงเป็นเหตุให้ต้องปรับตัวกันอยู่เรื่อยๆ เพื่อความอยู่รอด พืชบางอย่างอาจจะปลูกง่ายไม่ต้องดูแลรักษามากในอดีตแต่ในปัจจุบันก็อาจจะต้องมีการปรับปรุงวิธีการปลูกบ้างหรือเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้ผลผลิตได้ตามใจต้องการ

การเตรียมดิน
    ข่าเป็นพืชที่ชอบชื้น ดินร่วนซุย แต่ไม่ชอบแฉะและน้ำขัง หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังก็คงเป็นเรื่องยากสักหน่อยสำหรับการปลูกข่า หรืออาจะแก้ไขด้วยการไถเปิดหน้าดินแล้วก่อนขึ้นเป็นคัน แต่หากเป็นพื้นที่ราบปกติแล้วก็สามารถไถเปิดหน้าดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตรแล้วคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน หรือหากเป็นการปลูกข่าเพื่อใช้รับประทานในครัวเรือนก็สามารถใช้จอบขุดขึ้นแปลงเล็กๆ หรือขุดหลุมแล้วคลุกดินด้วยปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักได้ไม่ยุ่งยาก

การเตรียมต้นพันธุ์ข่าสำหรับปลูก
    ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่หากท่านใดมีโอกาสก็อยากจะแนะนำต้นพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ที่มีอายุได้ 8 – 9 เดือนเพราะมีตามากและรากงอกใหม่ได้ง่าย เพียงแตค่แยกแง่งตัดใบตัดรากออกให้หมดแล้วล้างให้สะอาดก็เป็นอันใช้ได้ แต่หากท่านไหนไม่สามารถหาต้นพันธุ์ได้นั้นก็สามารถหาซื้อไปตามตลาดโดยคัดเลือกหัวหรือแง่งที่มีตาตามข้อ ตัดแต่งส่วนที่เน่าหรือช้ำออกเพราะจะทำให้ลุกลามในภายหลังได้และเมื่อเสร็จแล้วก็นำไปแช่ในน้ำยากันเชื้อรา หลังจากนั้นก็นำไปเพาะชำในแกลบดำหรือวัสดุปลูกชนิดอ่อนเช่นแกลบหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มเป็นเวลา 10 – 15 วัน เพื่อรอให้รากงอกและแทงยอดออกมาใหม่ หรือหากท่านใดนิยมการปลูกแบบบ้านๆ ก็ไม่ต้องพิถีพิถันอะไรมากก็สามารถปักลงดินแล้วรดน้ำได้เลยแต่ถ้าหากอยากให้อัตราการรอดสูงก็อาจจะต้องพึ่งพาการอนุบาลเสียเล็กน้อยเพื่อศิริมงคลแก่ชีวิต

การปลูกข่า
    การปลูกนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเกินไปกว่าการขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตรและกว้าง 30 เซนติเมตร แล้วอาจจะรองก้นหลุมด้วยใบสะเดา ยาสูบหั่นฝอย หรือพืชที่มีกลิ่นฉุนเพื่อดักทางแมลงหรือหนอน แล้วตามด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า (หลีกเลี่ยงการใช้มูลวัวเพราะง่ายต่อการแพร่ของหนอนกอ) สำหรับการรองก้นหลุมแล้วจึงกลบดินถมให้ลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตรโดยให้ตาของหน่อข่าชี้ขึ้นด้านบน โดยทิ้งระยะห่างระหว่างกอที่ 1 – 1.2 เมตร แล้วคลุมด้วยฟางหรือวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากการถูกแดดเผา หรือไม่ใช้ก็ได้ก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของประชาชน อิอิอิ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็อยากจะให้หาวัสดุคลุมให้เรียบร้อยเพื่อรักษาความชื้นในดินและถึงแม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรกแต่ก็เป็นผลดีในระยะยาว

การดูแลรักษาข่าหลังการปลูก
    ถึงแม้ว่าข่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก โตได้ตามมีตามเกิดแต่หากต้องการผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้นก็เห็นทีจะต้องบำรุงให้งาม เพื่อขายได้ราคา ท่านอื่นไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไรแต่สำหรับผู้เขียนนั้นนิยมใช้ปุ๋ยหมักทำเองที่ได้จากการหมักผักตบชวากับมูลไก่และแกลบ โดยใส่บริเวณโคนต้นจำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อต้นเดือนละครั้ง หากเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็คงจะใส่น้อยกว่านี้ตามอัตราส่วน ส่วนการรดน้ำนั้นหากเพื่อนๆ มีฟางหรือวัสดุคลุมไว้ก็จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดีทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ โดยอาจจะรดน้ำแต่อาทิตย์ละครั้ง แต่หากไม่มีวัสดุคลุมก็ควรดูจากระดับความชื้นในดิน และสำหรับไร่ผู้เขียนเองนั้นก็เพิ่มเติมด้วยการรดน้ำหมักชีวภาพทุกอาทิตย์เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

ประโยชน์ขางการปลูกข่า
    ข่านั้นมีมูลค่าในเชิงการค้าซึ้งเป็นประโยชน์โดยตรงจากการปลูกข่าซึ่งข่านั้นขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ หากท่านผู้เขียนมีตลาดข่าอ่อนรองรับก็แนะนำให้เตรียมการปลูกเพื่อผลิตขิงอ่อนเพราะราคาดีและขายง่ายกว่าข่าแก่มาก และประโยชน์ทางอ้อมสำหรับการปลูกข่านั้นก็เป็นระบบการป้องกันแมลงได้อีกรูปแบบหนึ่งเพราะหากปลูกแซมหรือปลูกข่าดักทิศทางแมลงไว้แมลงก็จะช่วยลดการเข้าทำลายพืชผลอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกันเพราะแมลงไม่ถูกโรคกับพืชที่มีกลิ่นฉุน เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
    ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น
    ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

    อายุที่มากขึ้นประกอบกับการทำนาในปัจจุบันต้นทุนเพิ่มสูง ราคาต้องอิงกับนโยบายการของรัฐบาล และต้องขนข้าวไปขายถึงโรงสี จึงหันมาปลูกข่าเกษตร เพราะการปลูกข่าไม่ต้องดูแลมาก ไม่มีโรครบกวนเหมือนพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยด้วย รดน้ำเพียงเดือนละ 2 ครั้ง หากเป็นช่วงที่มีฝนตกยิ่งดี ไม่ต้องรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ธรรมชาติมูลสัตว์ เจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกลงดิน ประมาณ 8 เดือนสามารถเก็บผลผลิตขายได้ เป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว เพราะหากขุดข่าในกอยังคงมีหน่อใหม่ที่เจริญเติบโตเป็นกอใหม่ได้อีก ประมาณ 2-3 ปี ถึงจะลงทุนไถ่พรวน ขึ้นแปลง เริ่มต้นปลูกข่าใหม่ ซึ่งผลผลิตขุดขายได้ตลอดทั้งปี พ่อค้าแม่ค้ารับซื้อไม่อั้น ราคาจะอยู่ที่ 24-30 บาท/กรัม เพียงขุดนำมาล้าง ตัดแตกเอารากฝอยออก ใส่ถุงละ 10 กิโลกรัม หากแรงงานในครอบครัวมีกำลังขุดข่ามาส่งได้ได้เพียงวันละ 100 กิโลกรัม จะมีรายได้ถึง 2,500 บาท/วัน ทั้งนี้ 1 ไร่ เฉลี่ยได้ผลผลิตประมาณ 4 ตัน หรือ 4,000 กิโลกรัม ทำให้ครอบครัวมีรายได้จากการขายข่า ตันละ 2,5000 บาท เท่ากับราคาทองคำ 1 บาท หรือไร่ละ 100,000 บาท (เข้าถึงได้จาก : http://breakingnews.nationtv.tv/home/read.php?newsid=723600 วันที่ 1 มกราคม 2558)

          8.4.2 การปลูกข่าเหลือง
    ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้  ข่าเหลืองมีราคาค่อนข้างสูงมาโดยตลอด ทำให้เกษตรหันมาปลูกกันจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ลักษณะของข่าเหลืองจะมีกลิ่นและรสชาติแรงและหอมมากกว่าข่าชนิดอื่นสังเกตที่เนื้อจะเป็นสีเหลือง ข่าเหลืองนับว่าเป็นพืชที่เหมาะกับเกษตรกรที่ชอบปลูกพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เหมือนจำพวกตะไคร้ หรือขจร  เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำราคาดีมาอย่างต่อเนื่อง (เข้าถึงได้จาก : http://www.kaset4u.com/?p=238 วันที่ 1 มกราคม 2558)

การเตรียมกล้าพันธุ์
    ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก  นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม…หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม…หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป (เข้าถึงได้จาก : http://www.kaset4u.com/?p=238 วันที่ 1 มกราคม 2558)

วิธีการปลูก
    ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกข่าเหลืองได้ 4,500-5,000 กอ โดยปลูกเป็นแถวระยะ 80×80 เซนติเมตร ก่อนลงหลุมปลูก ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 พร้อมด้วยปูนขาวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หลังจากปลูกแล้วเกษตรกรต้องกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบหลุมปลูกเป็นประจำและให้ปุ๋ยสูตรเดิม หรือ 46-0-0 เดือนละประมาณ 2 ครั้ง จนกระทั่งข่าเหลืองอายุได้ 7 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ แต่ช่วง 15 วัน – 1 เดือน ก่อนที่จะขุดข่าเหลืองส่งตลาด ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60  อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น หากมีระบบจัดการที่ดี ข่าเหลือง 1 กอ จะให้ผลผลิตประมาณ 2-3 กิโลกรัม จำหน่ายได้ไม่ต่ำกว่า 60 บาท/กอ หักค่าใช้จ่ายแล้วเกษตรกรจะมีรายได้ 150,000-200,000 บาท/ไร่ การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี  และหลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน (เข้าถึงได้จาก : http://www.kaset4u.com/?p=238 วันที่ 1 มกราคม 2558)
    การปลูกข่าเหลือง จะต้องวางแผนการผลิตให้สามารถออกสู่ตลาดได้ตลอดปี (เว้นช่วงเก็บเกี่ยวกาแฟ) ทำให้มีรายได้ทุกเดือน สำหรับการปลูกข่าเหลือง ปลูกได้ตลอดปี โดยเฉพาะแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ ดินที่ปลูกควรเป็นที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ไม่อุ้มน้ำ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาโรครากเน่าได้ และควรปรับปรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก หรือใส่แกลบกาแฟเพิ่มความร่วนซุยให้แก่ดิน จะทำให้ได้ข่าเหง้าโต น้ำหนักดี ใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 30x30x20 เซนติเมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ 6,400 หลุม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กระป๋องนม การคัดเลือกพันธุ์ที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย แบ่งเหง้าพันธุ์แต่ละเหง้าให้มีตา 3-5 ตา ใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 1,500 - 2,000 กก.ต่อไร่ หรือเท่ากับเหง้าพันธุ์ 1 กก. ต่อ 3 หลุม จากนั้นนำเหง้าพันธุ์มาชุบด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูก การปลูกให้ฝังเหง้าพันธุ์ลึก 5-7 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ถ้าใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะกล้าไว้ในถุงพลาสติก ขนาด 8x10 นิ้ว ก็จะใช้ 1 ถุงต่อ 1 หลุมใน 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 6,400 ถุง   (เข้าถึงได้จาก : http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/khamil.htm วัที่ 1 มกราคม 2558) 
    ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หลังปลูก 3 เดือน และ 4 - 5 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 โดยการโรยบางๆ รอบโคนต้น และควรหาแกลบกาแฟหรือเศษหญ้าแห้งคลุมโคน จะทำให้ข่าเหลืองเจริญเติบโตดี เหง้าโตขนาดจัมโบ้ สิ่งสำคัญในการปลูกข่า คือขาดน้ำไม่ได้และดินแฉะเกินไปก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดโรครากเน่า ส่วนปัญหาโรคแมลงรบกวนมีน้อย เพราะข่ามีกลิ่นเฉพาะตัวที่ช่วยขับไล่แมลง (เข้าถึงได้จาก : http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/khamil.htm วันที่ 1 มกราคม 2558) 

การดูแลรักษา
    หลังจากปลูกข่าเหลือง สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องคอยกำจัดวัชพืช อย่าให้ขึ้นรกท่วมแปลงปลูก สำหรับนางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม จะใช้วิธีการถอน จะไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะจะมีผลกระทบต่อข่าเหลืองและมีสารพิษตกค้าง และไม่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชใด ๆ จึงรับรองได้เรื่องความปลอดภัยจากสารพิษ (เข้าถึงได้จาก : http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/khamil.htm วันที่ 1 มกราคม 2558) 
กรณีเกิดโรครากเน่าระบาด โรครากเน่า โคนเน่า หัวเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา มักพบข่าเหลืองเป็นโรคนี้รุนแรงในช่วงที่มีความชื้นสูง และ อุณหภูมิค่อนข้างสูง(มีอุณหภูมิสะสมอยู่ในดิน 10-20 องศาเซลเซียส) มักพบเกิดมากในปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาว สิ่งสำคัญท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องปลอดจากโรคต่าง ๆ ต้องเลือกระยะเวลาปลูกก่อนฤดูโรคระบาด เช่น ปลูกในตอนต้นฝนที่อากาศยังไม่เย็นมากนัก ไม่ควรปลูกในพื้นที่ ที่เคยเป็นโรคมาก่อน ก่อนปลูกปรับปรุงดินให้เป็นด่างเล็กน้อย โดยใส่ปูนขาว และ ควรใช้เชื้อราไตโครเดอร์มา มาใช้ เพื่อป้องกันเชื้อเวลาเตรียมดินปลูก ควรที่จะใช้แกลบดิบรองพื้นแล้วไถกลบ ทิ้งไว้15 วัน เพื่อจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน และแกลบจะเป็นตัวช่วยดึงธาตุอาหารมาให้ พืชอีกด้วย ห้ามปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมติดต่อกันเกิน 2 ปี เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรค  (อ้างอิง : ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น . สัมภาษณ์, 11 มิถุนายน 2557  เข้าถึงได้จาก :  http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=7732&s=tblplant วันที่ 1 มกราคม 2558) 

การลงทุน
    สำหรับค่าต้นพันธุ์ของข่าเหลืองนั้น นับว่าค่อนข้างสูง  พื้นที่  1 ไร่ ต้องใช้ต้นพันธุ์เป็นเงิน 15,000 – 20,000  บาท  ใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 1,500 – 2,000 กก.ต่อไร่ หรือเท่ากับเหง้าพันธุ์ 1 กก. ต่อ 3 หลุม จากนั้นนำเหง้าพันธุ์มาชุบด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูกการปลูกให้ฝังเหง้าพันธุ์ลึก 5-7 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ถ้าใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะกล้าไว้ในถุงพลาสติก ขนาด 8×10 นิ้ว ก็จะใช้ 1 ถุงต่อ 1 หลุมใน 1 ไร่ ใช้ต้นกล้า 6,400 ถุง จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนไม่อยากลงทุน  ในเรื่องของโรคนั้นมันมีปัญหาในเรื่องของหนอเน่าในช่วงฤดูฝน  จึงควรมีวิธีในการระบายน้ำไม่ให้น้ำขังบริเวณโคนของกอเพียง  6 – 7 เดือน  เราก็สามารถขุดข่าเหลืองไปจำหน่ายได้แล้ว  ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

การเก็บเกี่ยว
    เมื่อข่าเหลือง อายุได้ 5-6 เดือน ก็สามารถขุดขายได้ วิธีการขุด โดยใช้จอบหรือเสียมขุดขึ้นมาทั้งกอ ตัดใบทิ้ง แล้วนำมาทำความสะอาด ใช้เครื่องพ่นสารเคมีแรงสูง แต่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีฉีดพ่นน้ำทำความสะอาด ลอกกาบ ล้างดินและต้องคอยระวังอย่าให้ช้ำ เพราะแรงดันของน้ำแรงมาก จากนั้นนำมาตัดแต่งราก ตัดแต่งลำต้นและบรรจุถุง รอการจำหน่าย นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม บอกว่า ข่าเหลืองโดยเฉลี่ยจะใ้ห้ผลผลิตกอละ 1.5 กิโลกรัม ใน 1 ไร่ ปลูก 6,400 กอ จะได้น้ำหนักประมาณ 9,600 กิโลกรัม ๆ ละ 12 บาท จะมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 115,200 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าไร่ละ 80,000 บาท ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 - 6 เดือนเท่านั้น ในช่วงที่เก็บเกี่ยวเกษตรกรคนเก่งบอกว่าจะปลูกใหม่ทดแทนไปทันที จะไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่าง จึงทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดปี (เข้าถึงได้จาก : http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/khamil.htm วัที่ 1 มกราคม 2558)
7. การเลี้ยงไก่ไข่

6. การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก

5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่

4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การประเมินผล IS 2 : การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา I32202

การประเมินผล : การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา I32202
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต  ภาคเรียนที่ 2

ชั้น ม.5/4 ประกอบด้วย IS 6 เรื่อง ดังนี้
การจัดการดินเค็ม
น้ำยาล้างจาน
น้ำหมักชีวภาพ
ขนมไทย
การปลูกพืชหมุนเวียนในนาข้าว

การปลูกข้าวในถาด เจ้าของผลงาน FB: อิ ณ๊องปุ๋ย เฉยๆๆ :: อิ ณ๊องรูซี่ เฉยๆๆ
    บทวิพากษ์ครั้งที่ 1 คะแนน 0 นัดหมายตรวจครั้งต่อไป 1 ก.พ.58 ไม่มีงาน ตัดเกรด 0 ทันที...
    การปลูกข้าวในถาด ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้น ไม่ทำงาน ขาดความรับผิดชอบ ไม่ใส่ใจสนต่อกิจกรรมการเรียนการสอน มีเวลาแต่ไม่ใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง ยากต่อการสร้างความเจริญงอกงามให้แก่ตนเอง... หญ้า... แม้จะไม่มีสมอง... แต่มันยังเลือกที่จะยืดยอดเข้าหาแสง เพื่อสร้างอาหาร และความงอกงามให้แก่ตนเอง... จงอยู่กับอดีต ความความรู้ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่อไป... ถ้าไม่ต้องการพัฒนา ก็ไม่ต้องทำ... จบข่าว สำหรับกลุ่ม การปลูกข้าวในถาด





IS 3 : กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์) รหัสวิชา I32203

คำอธิบายรายวิชา 
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์)  รหัสวิชา I32203
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต  ภาคเรียนที่ 1    

    เป็นกิจกรรมที่นำความรู้ หรือประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้จากรายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) และการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) ไปสู่การปฏิบัติ ในการสร้างสรรค์โครงงาน/โครงการต่างๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหรือบริการสังคม ชุมชน ประเทศหรือสังคมโลก มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ วางแผนการทำงาน และตรวจสอบความก้าวหน้า วิเคราะห์ วิจารณ์ผลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงงาน/โครงการโดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมจิตอาสาที่ไม่มีค่าตอบแทน เป็นกิจกรรมที่ให้มีความตระหนักรู้ มีสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม

เป้าหมายการดำเนินกิจกรรม
1. วิเคราะห์องค์ความรู้จากการเรียนในสาระ IS1 และ IS2 เพื่อกำหนดแนวทางไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ( Public Service)
2. เขียนเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ เค้าโครง กิจกรรม/โครงงานและแผนปฏิบัติโครงงาน/โครงการ
3. ปฏิบัติตามแผนและตรวจสอบความก้าวหน้าทางการปฏิบัติโครงงาน/โครงการ
4. ร่วมแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิพากษ์ การปฏิบัติโครงงาน/โครงการ
5. สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม/โครงงาน/โครงการ และแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น ต่อผลการปฏิบัติงานหรือกิจกรรม ซึ่งแสดงถึงการตระหนักรู้ มีสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ สามารถปรับให้เหมาะสมกับความสนใจระดับชั้นของผู้เรียน และบริบทความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละแห่ง

IS 2 : การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา I32202

คำอธิบายรายวิชา 
การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา I32202
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต  ภาคเรียนที่ 2

    ศึกษา เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์จากรายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก โดยเขียนโครงร่าง บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป ในรูปของรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000 คำ หรือ เป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,000 คำ มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลายเชื่อถือได้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เรียบเรียงและถ่ายทอดสื่อสาร นำเสนอความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการนำเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual presentation) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย และมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดทักษะ ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

ผลการเรียนรู้
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000 คำ หรือ เป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,000 คำ
3. นำเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่เลือกในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual presentation) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย
4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ โดยใช้การสนทนาการวิพากษ์/สนมนาเกี่ยวกับผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-conference, social media online
5. เห็นประโยชน์และคุณค่าการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

IS 1 : การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) รหัสวิชา I32201

คำอธิบายรายวิชา
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) รหัสวิชา I32201
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต  ภาคเรียนที่ 1

    ศึกษา  วิเคราะห์  ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา / ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุนหรือโต้แย้งประเด็นความรู้  โดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขาต่าง  ๆ  และมีทฤษฏีรองรับ  ออกแบบวางแผน  รวบรวมข้อมูล  ค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมมติฐานที่ตั้งไว้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ  และสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  และพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งเรียนรู้อย่างมีวิจารณญาณ  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ร่วมกัน  มีกระบวนการกลุ่มในการวิพากษ์  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ  เสนอแนวคิด  วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  ด้วยกระบวนการคิด  กระบวนการแก้ปัญหา  กระบวนการปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้  สังเคราะห์สรุป  อภิปราย  ผลเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้ ความเป็นมาของศาสตร์  เข้าใจหลักการและวิธีคิดในสิ่งที่ศึกษา  เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้
1. ตั้งประเด็นความรู้จากสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก
2. ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุนหรือโต้ยังประเด็นความรู้  โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ  และมีทฤษฎีรองรับ
3. ออกแบบ  วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ศึกษา  ค้นคว้า  แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือก  จากแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล
6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม
7.  สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8.  เสนอแนวคิด  การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

1. 2. 3. ป่ายางฟาร์ม : กรณีศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา IS โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน

... เชิญนักเรียนศึกษาตัวอย่างการเขียน IS นะครับ ...
1. สีแดง คือ คำอธิบาย
2. สีน้ำเงิน คือ ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง อ้างอิง หรือส่วนที่จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติม
3. สีเขียว คือ อยู่ระหว่างดำเนินการ ต้องเพิ่มข้อมูล
4. สีดำ คือ ข้อความสำเร็จแล้ว หากมีความคิดเห็นเพิ่มเติม จึงจะแก้ไข

..............................................................................................................................

ชื่อ IS : พอเพียง ณ ป่ายางฟาร์ม

สมาชิกในกลุ่ม

    1. นายบรรหาร  เจ๊กนอก
    2. นางธารารัตน์  เจ๊กนอก
    3. เด็กชายเกียรติธนพัฒน์  เจ๊กนอก

ที่มาและความสำคัญ 

    ด้วยการดำรงอยู่ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยทุนนิยม เป็นเหตุให้ความสุขหายไปเพื่อแลกกับปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ที่ต้องการมากขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้ความสุขกลับมาจึงมีเหตุที่ต้องทำ คือ จัดให้สภาพของปัจจัยสี่มีเพียงพอและมีคุณภาพเหมาะสมต่อการสร้างครอบครัว โดยการจัดสภาพดังกล่าว เพื่อให้ครอบครัวเล็กๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขนั้น จำเป็นต้องสร้างรายได้ครัวเรือนที่ทดแทนเพียงพอกับรายจ่าย และคงเหลือเก็บบ้างตามควร ในการนี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ "พอเพียง ณ ป่ายางฟาร์ม" ขึ้น ค้นหากิจกรรม วิธีการ ที่ช่วยสร้างรายได้ในเวลาว่าง ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยการค้นหา จัดทำ หรือพัฒนาเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ในบางผลิตภัณฑ์หรือบางกระบวนการ ตลอดจนการค้นหาอาชีพเสริมที่สามารถทำได้ ด้วยแรงงานของสมาชิกในครอบครัว (ยังเป็นการเขียนที่แย่อยู่... เพราะเกิดจากข้อมูลเชิงประจักษ์เพียงอย่างเดียว... ขาดการอ้างอิงข้อมูลประกอบ... ผลการศึกษาที่เกิดจากที่มาและความสำคัญในตัวอย่างนี้ จะดี และเหมาะสมกับงานนี้เท่านั้น อ้างอิงผลสู่ที่อื่นๆ ไม่ได้... นักเรียน ค่อยๆ ติดตามวิธีการปรับการเขียนที่มาและความสำคัญไปเรื่อยๆ นะครับ)

จุดประสงค์ 

    1. พัฒนานวัตกรรมการสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว
    2. พัฒนาวิธีการนำเศษอาหาร เศษวัสดุสิ่งของ หรืออื่นๆ ให้กลับมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
    3. พัฒนาระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เรียบง่าย สมาชิกในครอบครัวเข้าใจ ทำได้ ใช้เป็นทุกคน

    4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(จุดประสงค์ กว้างมาก แยกได้เป็น 10 ชิ้นงาน IS เลยทีเดียว... แต่นักเรียนค่อยๆ ติดตามไปนะครับ เพราะ IS ชิ้นนี้ จะค่อยๆ แยกย่อยลงไปทีละประเด็น เกิด กรณีศึกษาที่หลากหลายมาก นักเรียนนำไปปรับใช้กับงานและชีวิตนักเรียนได้เช่นกันครับ)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ได้แนวทางการประกอบอาชีพที่พัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้
    2. ได้แนวทางการจัดการปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้มีสภาพเป็นหนี้ดี เพื่อขยายโครงสร้างการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
    3. ได้แนวทางการจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ พบนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร วัสดุ ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
    4. ได้แนวทางการปฏิบัติที่ง่ายต่อการทำซ้ำ ลอกเลี่ยนแบบ ในวิถีชีวิตที่พอเพียง
    5. ได้แนวทางการปฏิบัติตนให้มีความสุข
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(กว้างตามจุดประสงค์ครับ แต่ใช้ได้ จุดเปลี่ยนอยู่ในหัวข้อถัดไป... ซึ่งจะเป็นการตั้งขอบเขตของการศึกษา เป็นระยะต่างๆ เป็นกลุ่มกิจกรรมย่อยต่างๆ ซึ่งถ้าเทียบกับ IS ของนักเรียนแล้ว อาจจะเท่าๆ กับ ผลการศึกษาของนักเรียนทั้งห้องรวมกันก็ได้ครับ โปรดติดตามการเขียนนะครับ)


ขอบเขตการศึกษา

    1. กลุ่มเป้าหมาย (ประชากรกลุ่มเป้าหมาย) คือ สมาชิกในครอบครัวนายบรรหาร  เจ๊กนอก จำนวน 3 คน
    2. ตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ได้แก่
        2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ นวัตกรรมการสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว จำนวน 10 กิจกรรม คือ
              2.1.1 การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
              2.1.2 การเลี้ยงไก่ไข่
              2.1.3 การปลูกข่า
              2.1.4 การปลูกตะไคร้
              2.1.5 การปลูกมันสำปะหลัง
              2.1.6 การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
              2.1.7 การเพาะเห็ดขอนขาว
              2.1.8 การเพาะเห็ดฟาง
              2.1.9 การเลี้ยงปลานิลหมัน
              2.1.10 การปลูกผักสวนครัว
        2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
              2.2.1 รายได้
              2.2.2 ทักษะกระบวนการทำงาน
              2.2.3 ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
    3. ระยะเวลาในการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ใช้เวลา 20 ชั่วโมง
    4. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้เนื้อหาที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
        4.1 การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
        4.2 การเลี้ยงไก่ไข่
        4.3 การปลูกข่า
        4.4 การปลูกตะไคร้
        4.5 การปลูกมันสำปะหลัง
        4.6 การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
        4.7 การเพาะเห็ดขอนขาว
        4.8 การเพาะเห็ดฟาง
        4.9 การเลี้ยงปลานิลหมัน
        4.10 การปลูกผักสวนครัว
(จุดประสงค์ กว้างมาก แยกได้ถึง 10 ชิ้นงาน IS เลยทีเดียว.. )

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. นวัตกรรม
2. การสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว
3. ทักษะกระบวนการทำงาน
4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
7. การเลี้ยงไก่ไข่
8. การปลูกข่า
9. การปลูกตะไคร้
10. การปลูกมันสำปะหลัง
11. การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
12. การเพาะเห็ดขอนขาว
13. การเพาะเห็ดฟาง
14. การเลี้ยงปลานิลหมัน
15. การปลูกผักสวนครัว
(ทำเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะนำบทสรุปกลับมาเป็นนิยามศัพท์เฉพาะ)

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. นวัตกรรม
    นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    1.1 ความหมาย
          นวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์ หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
บัญญัติขึ้น เดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in (=in)+novare= to renew, to modify) และ novare มาจากคำว่า novus (=new) Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่ , เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา" Innovation = การทำสิ่งใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary) (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    1.2 ส่วนประกอบ (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1) ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
          2) ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
          3) มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
          4) นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้

    1.3 ขั้นตอนของนวัตกรรม (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 ; http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1) การคิดค้น (Invention)  เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
          2) การพัฒนา ( Development)  เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการ มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
          3) ขั้นนำไปใช้จริง (Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
          4) ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย

    1.4 หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือนวัตกรรม (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
          2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
          3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

2. การสร้างรายได้

    2.1 ความหมาย
    การสร้างรายได้ หมายถึง การทำวิธีใดๆ เพื่อให้ได้เงินทองมาเพื่อการสร้างฐานะในครอบครัวนั้นๆ

(เข้าถึงได้จาก : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5384cb218b6b065c วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้ ในทางธุรกิจ คือรายรับที่บริษัทได้มาจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามปกติวิสัย อันเป็นผลจากการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ในหลายประเทศเช่นสหราชอาณาจักร เรียกรายได้ว่า ผลประกอบการ บริษัทบางบริษัทมีรายได้เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล หรือค่าสิทธิ ที่จ่ายโดยบริษัทอื่น (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้อาจหมายถึงรายรับทางธุรกิจโดยทั่วไป หรือหมายถึงจำนวนเงินที่ได้รับ (ในหน่วยเงินตรา) ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "บริษัท ก มีรายได้ 42 ล้านบาทในปีที่แล้ว" กำไรหรือเงินได้สุทธิโดยทั่วไปหมายถึง รายได้ทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด ในทางการบัญชี รายได้มักถูกอ้างถึงเป็นบรรทัดแรกสุดในรายการงบกำไรขาดทุน ซึ่งแย้งกับบรรทัดสุดท้ายคือกำไรหรือเงินได้สุทธิ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รายได้ประจำปีอาจเรียกว่า รายได้มวลรวม รายได้นี้มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่าง ๆ การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล รายรับจากกิจกรรมที่เกี่ยวกับพันธกิจขององค์กร และรายรับจากกิจกรรมการระดมทุน ค่าบำรุงสมาชิก และการลงทุนการเงินเช่นการถือหุ้นของบริษัทอื่น (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้ที่องค์กรได้รับมักอยู่ในรูปแบบเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด รายได้จากการขายก็มีความหมายตรงตัวคือรายได้ที่มาจากการขายสินค้าและบริการภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้รายได้จากภาษีอากรก็เป็นรายรับที่รัฐบาลได้มาจากผู้เสียภาษีอากร (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    2.2 นโยบายการสร้างรายได้  (เข้าถึงได้จาก : http://www.eppo.go.th/doc/gov-policy/pt-3.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    การแก้ปัญหาหนี้สินของประเทศต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้ ดังนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานรากของประเทศ ตั้งแต่การผลิตเพื่อการบริโภค นำผลผลิตที่เหลือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ในระดับครอบครัว ส่งเสริมการรวมตัวเพื่อดำเนินเศรษฐกิจระดับชุมชนเร่งพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งส่งเสริมการเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูล และสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดยุคใหม่ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และศักยภาพของทักษะที่ประเทศมีความโดดเด่นเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เพื่อสร้างฐานการจ้างงาน กระจายโอกาสและกระจายความเสี่ยง สร้างฐานการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ เกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ สำหรับด้านการเกษตรกรรมมีรายละเอียด ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
          2.2.1 ส่วนที่ 1 ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
                   1) ปรับโครงสร้างสินเชื่อ และเงินทุนภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวงจรการผลิตเร่งรัดการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร และพักชำระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี แก่เกษตรกรรายย่อย
                   2) ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือก และเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
                   3) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกระดับให้เหมาะสมต่อระบบการผลิต และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ คูคลองส่งน้ำ คุณภาพน้ำ และชลประทานระบบท่อ รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่
          2.2.2 ส่วนที่ 2 การพัฒนาตลาดในประเทศและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนชนบท
                   1) มุ่งพัฒนาการผลิตภาคชนบทและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเชื่อมโยงการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านแห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวสำหรับการลงทุนและสร้างรายได้แก่ประชาชนในชนบท
                   2) พัฒนาระบบการตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนการจัดตั้งยุ้งฉางลานตากของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตรและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศด้านการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   3) ส่งเสริมการสหกรณ์ ธุรกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง และให้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเสนอนโยบายและมาตรการด้านการเกษตร และการวิจัยพัฒนาด้านการเกษตร
                   4) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทยและวิทยาการสมัยใหม่
                   5) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำการเกษตร รวมทั้งเกษตรอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสอดคล้องความต้องการของตลาดและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่
          2.2.3 ส่วนที่ 3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรในตลาดโลก
                   1) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
                   2) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในอนาคต
                   3) พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรทั้งการนำเข้าและส่งออก รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ
                   4) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้าน การพัฒนากองเรือประมง อุตสาหกรรมห้องเย็นและการแปรรูปสินค้าประมง รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศน์ทางทะเล

3. ทักษะกระบวนการทำงาน

    3.1 ความหมาย
    ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน หมายถึง การนำความรู้  ความสามารถ  เทคนิค  และวิธีการต่างๆมาใช้ในการปฎิบัติให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทิภาพ  ซึ่งผู้ปฎิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมีทักษะ ในการวิเคราะห์งาน  มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถแก้ปัญหาได้  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการบริหารงาน  สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้ เป็นอย่างดี  ที่สำคัญจะต้องสามารถเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อการทำงานให้เกิดประประสิทธิ ภาพสูงสุด  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ  (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    ทักษะกระบวนการ หมายถึง กระบวนการทำงาน ที่ดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างคล่องแคล่วแม่นยำจนบรรลุผลที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด การทำงานหรือโครงงานใดๆ อาจดำเนินการตามหลักของทักษะกระบวนการได้เสมอ (เข้าถึงได้จาก : http://www.pbj.ac.th/tawattidate/projcet/pro/lean4.1.htm  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    3.2 องค์ประกอบ
          3.2.1 ทักษะการแสวงหาความรู้ ในการทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น  ผู้ปฎิบัติวานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  การแข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  เพื่อนำความรู้มาใช้และพัฒนาการทำงานต่างๆ  ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงานเป็การคึกษาหาความรู้ การฝึกฝน เพื่อการทำงานการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้ วิธีการแสวงหาความรู้ (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557) มีดังนี้
                  1) การสังเกต  โดยเฝ้าดูสิ่งที่เราพเห็นอย่างใส่ใจ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ
                  2) การฟัง โดยการรับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิด ไม่คิด เพื่อฟังรับข้อมูลต่างๆแล้วนำมาประมวลผลความคิดเป็นของตนเองเป็นการสั่งสมความรู้ให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีแหล่งข้อมลในการฟังที่ดี เช่น เข้าร่วมฟังบรรยาย เข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ
                  3) การซักถาม  เมื่อมีการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เมื่อมีขัอสงสัยก็ให้ซักถามแต่การซักถามนั้นจะต้องมีการค้นคว้าด้วย
                  4) การอ่าน โดยการคึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ ที่มีมากมายการอ่านเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันสถานการณ์เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การอ่านนวนิยาย
                  5) การคึกษาค้นคว้า โดยการแแสวงหาข้อเท็จจริงในข่าวสาร ข้อมูล ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเองทั้งตำรา เอกสารทางวิชาการ แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เป็นต้น
                  6) การสัมภาษณ์ โดยการสนสนทนพูดคุยกับบุคคลต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประโยชน์ในการรวบร่วม เผยแพร่ต่อไป
                  7) การรวบร่วมและบันทึกข้อมูล วิธีการดำเนินการเพื่อเก็บรวบร่วมข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บันทึกในแฟ้มเอก บันทึกลงสมุดไว้คอมพิวเตอร์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
          3.2.2 ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
    ในการทำงานใดๆ ก้ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมี่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปํญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปํญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปํญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปํญหาในการทำงสนมี 6 ขั้นตอน (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557) ดังนี้
                  1) สำรวจปัญหา
                  2) วิเคราะห์ปัญหา
                  3) สร้างทางเลือก
                  4) ประเมินทางเลือก
                  5) วางแผนปฏิบัติ
                  6) ประเมินผลการแก้ปัญหา
          3.2.3 ทักษะกระบวนการ มี 9 ขั้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.pbj.ac.th/tawattidate/projcet/pro/lean4.1.htm  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
                  1) ตระหนักในปัญหา และความจำเป็น
                  2) คิดวิเคราะห์วิจารณ์
                  3) สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
                  4) ประเมินและเลือกทางเลือก
                  5) กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
                  6) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                  7) ประเมินระหว่างปฏิบัติ
                  8) ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
                  9) ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
          3.2.4 ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน (เข้าถึงได้จาก : http://www.manpowerthailand.com/know_detail.php?id=111  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
                  1) ทักษะในด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ (Communication & Relation skills) สิ่งจำเป็นในการทำงานร่วมกันคือการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ซึ่งเป็นศิลปะในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีแก่กันกับบุคคล  เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่  ความนับถือ  ความจงรักภักดี  และความร่วมมือดังนั้นทักษะด้านนี้จึงเป็นทักษะสำคัญอันดับต้นๆในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพราะทักษะด้านนี้เป็นกลไกที่สามารถลดความขัดแย้งและยังเป็นการช่วยอำนวยการให้การติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและจะนำมาซึ่งความสำเร็จ
                  2) ทักษะในการแก้ปัญหา(Problem Solving Skills) การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานและบริหารงานเพราะการปฏิบัติงานไม่ว่าในตำแหน่งใดๆก็ตามจะต้องเผชิญกับปัญหาและสภาวะการณ์ต่างๆดังนั้นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบไม่เกิดความเครียดทางกายจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ปัญหาไม่ลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข  การแก้ปัญหาต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นระบบเริ่มตั้งแต่การกำหนดและแยกแยะสาเหตุของปัญหา มีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการแก้ไขและวิเคราะห์รวมถึงวิธีการและการวัดผลหลังการแก้ไขและสร้างมาตรฐานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม
                  3) ทักษะในการวางแผน(Organizing and Planning Skills) การทำงานที่ขาดการวางแผนที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ดังนั้นการมีทักษะในการวางแผนของพนักงานย่อมหมายถึงความสำเร็จเพราะการวางแผนคือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงานเช่นการใช้แผนระยะยาวในการพัฒนาทักษะและฝีมือของแรงงานทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานหรือผลงานนั้นได้
                  4) ทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ (Technology and Computer Skills) ด้วยรูปแบบการทำงานและการพัฒนาของการสื่อสารที่ครอบคลุมมากขึ้นได้ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในการกำหนดความต้องการของตลาดแรงงานผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่กำหนดทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ไว้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของการรับพนักงานใหม่ เพราะพนักงานที่มีทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (Linguistic Skills) ด้วยความก้าวหน้าของการสื่อสารและการติดต่อประสานงานกันมากขึ้นทำให้ทักษะการใช้ภาษามีส่วนสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพราะฉะนั้นพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ จะถือว่าได้เปรียบอย่างมากเพราะปัจจุบันมีผู้ลงทุนบริษัทจากต่างประเทศหรือการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นองค์กรที่มีพนักงานที่มีทักษะและความสามารถด้านภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
          3.2.5 ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงหาความรู้ และทักษะการจัดการมีหลักการและวิธีการ (เสาวนีย์ ประทีปทอง และคณะ หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) (เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com/node/130090 วันที่ 31 ธันวาคม 2557) ดังนี้
                  1) ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานต่างๆ ด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
                       (1) การวิเคราะห์งาน เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับเป้าหมายว่าเป้าหมายของงานคืออะไรและทำอย่างไรจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
                       (2) การวางแผนในการทำงาน  เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานระยะเวลาในการดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นต้น
                       (3) การลงมือทำงาน  เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
                       (4) การประเมินผลการทำงาน   เป็นการตรวจสอบ  ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ   รักกุม  ครอบคลุม  และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่
                  2) ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา จะช่วยให้เกิดความคิดในการหาทางออก  เมื่อพบปัญหาในเวลาหรือสถานการณ์การทำงาน  โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                       (1) สังเกต  นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต  สามารถศึกษาหรือรับรู้ข้อมูลมองเห็นและเข้าใจปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้
                       (2) วิเคราะห์   เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว   ควรวิเคราะห์ว่าปัญหาที่มีมากน้อยเพียงใดและลำดับความสำคัญของปัญหา
                       (3) สร้างทางเลือก  ควรสร้างทางเรื่องในการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะมีมากมายโดยการสร้างทางเลือกนั้นอาจจะมาจากการศึกษาค้นคว้าการทดลอง   การตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา
                       (4) ประเมินทางเลือก    ทางเลือกต่างๆที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้าหรืการตรวจสอบต่างๆควรพิจารณาให้ละเอียดว่าทางเลือกใดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาที่สุด
                  3) ทักษะการทำงานร่วมกัน ขั้นตอนการทำงานมีหลักการดังนี้
                       (1) รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม   ในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น    ควรรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
                       (2) มีทักษะในการพูดแสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม     เมื่อทำงานร่วมกับคนอื่นควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
                       (3) มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน  เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
                       (4) สรุปผลโดยการจัดทำรายงาน   การทำงานกลุ่มใดๆก็ตามควรมีการสรุปผลออกมาอย่าเป็นรูปธรรม อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน
                       (5) นำเสนองาน  เมื่อมีรายงานออกมาอย่างชัดเจน  เป็นเอกสารแล้ว ควรมีทักษะในการนำเสนองานการปฏิบัติงานของกลุ่มในรูปแบบต่างๆ
                  4) ทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถฝึกฝนได้จากการปฏิบัติ ต่อไปนี้
                       (1) กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้    คือการตั้งหัวข้อ   ตั้งประเด็นในการศึกษาค้นคว้า
                       (2) การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้  เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว  ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด
                       (3) การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้  คือการดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ  ตามแผนงานที่วางไว้
                       (4) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้   การนำข้อมูลต่างๆมาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล
                       (5) การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และการบันทึกจัดเก็บเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ออกมาตามต้องการควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา  
                  5) ทักษะการจัดการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                       (1) การจัดการระบบงานโดยสามารถจัดสรรเวลาทำงานให้เป็นระบบปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผนและขั้นตอนต่างได้
                       (2) การจัดการระบบคนโดยมีความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน  แบ่งปัน จัดสรรให้เหมาะสมกับงาน
(ยังไม่ครบถ้วน แต่จะรีบดำเนินการต่อนะครับ แต่เท่านี้ก็พอเป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมได้นะ นักเรียนตั้งใจศึกษาวิธีการทำงานของครูในส่วนนี้ดีดีนะครับ)

4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
7. การเลี้ยงไก่ไข่
8. การปลูกข่า
9. การปลูกตะไคร้
10. การปลูกมันสำปะหลัง
11. การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
12. การเพาะเห็ดขอนขาว
13. การเพาะเห็ดฟาง
14. การเลี้ยงปลานิลหมัน
15. การปลูกผักสวนครัว

วัสดุ อุปกรณ์ ...
วิธีดำเนินการ ...
ผลการดำเนินการ ...
สรุปผลการดำเนินการ ...
อภิปรายผล ...
ข้อเสนอแนะ ...

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เปิดโลกวิทยาศาสตร์ปี 57

เชื่อมโยงกับบล็อกเดิมที่ http://cheknork.blogspot.com/
นี่คือ บล็อกใหม่ เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน เท่านั้น

ภาระงานและรายวิชาที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2557 ประกอบด้วย
1. ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ม.6/3, 6/4
2. ดวงดาวและโลกของเรา ม.5/3, 5/4
3. IS2 ม.5/4
4. ครูประจำชั้น ม.4/3
5. ชุมนุมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน พรรณไม้ที่ต้องสืบค้นให้ถูกต้อง ครบถ้วน 12 ชนิด คือ
      5.1 โพธิ์
      5.2 กระถิน
      5.3 กางขี้มอด
      5.4 มะม่วง
      5.5 วาสนา
      5.6 สนทะเล
      5.7 สาระลังกา
      5.8 สัก
      5.9 หมากเหลือง
    5.10 อโศกเซนคาเบียล
    5.11 ฮวงไซ
    5.12 เหลืองปรีดียาธร
6. งานแผนงานและงบประมาณ
7. ครูเวรประจำวันศุกร์
8. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
      8.1 เกียรติบัตรครู นักเรียนโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน
      8.2 ...