วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

1. 2. 3. ป่ายางฟาร์ม : กรณีศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา IS โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน

... เชิญนักเรียนศึกษาตัวอย่างการเขียน IS นะครับ ...
1. สีแดง คือ คำอธิบาย
2. สีน้ำเงิน คือ ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง อ้างอิง หรือส่วนที่จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติม
3. สีเขียว คือ อยู่ระหว่างดำเนินการ ต้องเพิ่มข้อมูล
4. สีดำ คือ ข้อความสำเร็จแล้ว หากมีความคิดเห็นเพิ่มเติม จึงจะแก้ไข

..............................................................................................................................

ชื่อ IS : พอเพียง ณ ป่ายางฟาร์ม

สมาชิกในกลุ่ม

    1. นายบรรหาร  เจ๊กนอก
    2. นางธารารัตน์  เจ๊กนอก
    3. เด็กชายเกียรติธนพัฒน์  เจ๊กนอก

ที่มาและความสำคัญ 

    ด้วยการดำรงอยู่ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยทุนนิยม เป็นเหตุให้ความสุขหายไปเพื่อแลกกับปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ที่ต้องการมากขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้ความสุขกลับมาจึงมีเหตุที่ต้องทำ คือ จัดให้สภาพของปัจจัยสี่มีเพียงพอและมีคุณภาพเหมาะสมต่อการสร้างครอบครัว โดยการจัดสภาพดังกล่าว เพื่อให้ครอบครัวเล็กๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขนั้น จำเป็นต้องสร้างรายได้ครัวเรือนที่ทดแทนเพียงพอกับรายจ่าย และคงเหลือเก็บบ้างตามควร ในการนี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ "พอเพียง ณ ป่ายางฟาร์ม" ขึ้น ค้นหากิจกรรม วิธีการ ที่ช่วยสร้างรายได้ในเวลาว่าง ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นด้วยการค้นหา จัดทำ หรือพัฒนาเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ในบางผลิตภัณฑ์หรือบางกระบวนการ ตลอดจนการค้นหาอาชีพเสริมที่สามารถทำได้ ด้วยแรงงานของสมาชิกในครอบครัว (ยังเป็นการเขียนที่แย่อยู่... เพราะเกิดจากข้อมูลเชิงประจักษ์เพียงอย่างเดียว... ขาดการอ้างอิงข้อมูลประกอบ... ผลการศึกษาที่เกิดจากที่มาและความสำคัญในตัวอย่างนี้ จะดี และเหมาะสมกับงานนี้เท่านั้น อ้างอิงผลสู่ที่อื่นๆ ไม่ได้... นักเรียน ค่อยๆ ติดตามวิธีการปรับการเขียนที่มาและความสำคัญไปเรื่อยๆ นะครับ)

จุดประสงค์ 

    1. พัฒนานวัตกรรมการสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว
    2. พัฒนาวิธีการนำเศษอาหาร เศษวัสดุสิ่งของ หรืออื่นๆ ให้กลับมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
    3. พัฒนาระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เรียบง่าย สมาชิกในครอบครัวเข้าใจ ทำได้ ใช้เป็นทุกคน

    4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(จุดประสงค์ กว้างมาก แยกได้เป็น 10 ชิ้นงาน IS เลยทีเดียว... แต่นักเรียนค่อยๆ ติดตามไปนะครับ เพราะ IS ชิ้นนี้ จะค่อยๆ แยกย่อยลงไปทีละประเด็น เกิด กรณีศึกษาที่หลากหลายมาก นักเรียนนำไปปรับใช้กับงานและชีวิตนักเรียนได้เช่นกันครับ)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ได้แนวทางการประกอบอาชีพที่พัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้
    2. ได้แนวทางการจัดการปัญหาหนี้สินครัวเรือนให้มีสภาพเป็นหนี้ดี เพื่อขยายโครงสร้างการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
    3. ได้แนวทางการจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ พบนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร วัสดุ ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
    4. ได้แนวทางการปฏิบัติที่ง่ายต่อการทำซ้ำ ลอกเลี่ยนแบบ ในวิถีชีวิตที่พอเพียง
    5. ได้แนวทางการปฏิบัติตนให้มีความสุข
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(กว้างตามจุดประสงค์ครับ แต่ใช้ได้ จุดเปลี่ยนอยู่ในหัวข้อถัดไป... ซึ่งจะเป็นการตั้งขอบเขตของการศึกษา เป็นระยะต่างๆ เป็นกลุ่มกิจกรรมย่อยต่างๆ ซึ่งถ้าเทียบกับ IS ของนักเรียนแล้ว อาจจะเท่าๆ กับ ผลการศึกษาของนักเรียนทั้งห้องรวมกันก็ได้ครับ โปรดติดตามการเขียนนะครับ)


ขอบเขตการศึกษา

    1. กลุ่มเป้าหมาย (ประชากรกลุ่มเป้าหมาย) คือ สมาชิกในครอบครัวนายบรรหาร  เจ๊กนอก จำนวน 3 คน
    2. ตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ได้แก่
        2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ นวัตกรรมการสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว จำนวน 10 กิจกรรม คือ
              2.1.1 การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
              2.1.2 การเลี้ยงไก่ไข่
              2.1.3 การปลูกข่า
              2.1.4 การปลูกตะไคร้
              2.1.5 การปลูกมันสำปะหลัง
              2.1.6 การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
              2.1.7 การเพาะเห็ดขอนขาว
              2.1.8 การเพาะเห็ดฟาง
              2.1.9 การเลี้ยงปลานิลหมัน
              2.1.10 การปลูกผักสวนครัว
        2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
              2.2.1 รายได้
              2.2.2 ทักษะกระบวนการทำงาน
              2.2.3 ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
    3. ระยะเวลาในการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ใช้เวลา 20 ชั่วโมง
    4. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้เนื้อหาที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
        4.1 การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
        4.2 การเลี้ยงไก่ไข่
        4.3 การปลูกข่า
        4.4 การปลูกตะไคร้
        4.5 การปลูกมันสำปะหลัง
        4.6 การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
        4.7 การเพาะเห็ดขอนขาว
        4.8 การเพาะเห็ดฟาง
        4.9 การเลี้ยงปลานิลหมัน
        4.10 การปลูกผักสวนครัว
(จุดประสงค์ กว้างมาก แยกได้ถึง 10 ชิ้นงาน IS เลยทีเดียว.. )

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. นวัตกรรม
2. การสร้างรายได้ในเวลาว่างด้วยแรงงานในครอบครัว
3. ทักษะกระบวนการทำงาน
4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
7. การเลี้ยงไก่ไข่
8. การปลูกข่า
9. การปลูกตะไคร้
10. การปลูกมันสำปะหลัง
11. การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
12. การเพาะเห็ดขอนขาว
13. การเพาะเห็ดฟาง
14. การเลี้ยงปลานิลหมัน
15. การปลูกผักสวนครัว
(ทำเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะนำบทสรุปกลับมาเป็นนิยามศัพท์เฉพาะ)

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. นวัตกรรม
    นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    1.1 ความหมาย
          นวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์ หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/นวัตกรรม วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
บัญญัติขึ้น เดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in (=in)+novare= to renew, to modify) และ novare มาจากคำว่า novus (=new) Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่ , เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา" Innovation = การทำสิ่งใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary) (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    1.2 ส่วนประกอบ (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1) ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
          2) ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
          3) มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
          4) นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้

    1.3 ขั้นตอนของนวัตกรรม (เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/492060 ; http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1) การคิดค้น (Invention)  เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
          2) การพัฒนา ( Development)  เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาการ มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
          3) ขั้นนำไปใช้จริง (Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
          4) ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย

    1.4 หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือนวัตกรรม (เข้าถึงได้จาก : http://www.st.ac.th/av/inno_mean.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
          1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
          2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
          3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

2. การสร้างรายได้

    2.1 ความหมาย
    การสร้างรายได้ หมายถึง การทำวิธีใดๆ เพื่อให้ได้เงินทองมาเพื่อการสร้างฐานะในครอบครัวนั้นๆ

(เข้าถึงได้จาก : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5384cb218b6b065c วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้ ในทางธุรกิจ คือรายรับที่บริษัทได้มาจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามปกติวิสัย อันเป็นผลจากการขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า ในหลายประเทศเช่นสหราชอาณาจักร เรียกรายได้ว่า ผลประกอบการ บริษัทบางบริษัทมีรายได้เป็นดอกเบี้ย เงินปันผล หรือค่าสิทธิ ที่จ่ายโดยบริษัทอื่น (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้อาจหมายถึงรายรับทางธุรกิจโดยทั่วไป หรือหมายถึงจำนวนเงินที่ได้รับ (ในหน่วยเงินตรา) ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "บริษัท ก มีรายได้ 42 ล้านบาทในปีที่แล้ว" กำไรหรือเงินได้สุทธิโดยทั่วไปหมายถึง รายได้ทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด ในทางการบัญชี รายได้มักถูกอ้างถึงเป็นบรรทัดแรกสุดในรายการงบกำไรขาดทุน ซึ่งแย้งกับบรรทัดสุดท้ายคือกำไรหรือเงินได้สุทธิ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รายได้ประจำปีอาจเรียกว่า รายได้มวลรวม รายได้นี้มาจากการบริจาคโดยบุคคลและองค์กรต่าง ๆ การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล รายรับจากกิจกรรมที่เกี่ยวกับพันธกิจขององค์กร และรายรับจากกิจกรรมการระดมทุน ค่าบำรุงสมาชิก และการลงทุนการเงินเช่นการถือหุ้นของบริษัทอื่น (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    รายได้ที่องค์กรได้รับมักอยู่ในรูปแบบเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด รายได้จากการขายก็มีความหมายตรงตัวคือรายได้ที่มาจากการขายสินค้าและบริการภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้รายได้จากภาษีอากรก็เป็นรายรับที่รัฐบาลได้มาจากผู้เสียภาษีอากร (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/รายได้ วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    2.2 นโยบายการสร้างรายได้  (เข้าถึงได้จาก : http://www.eppo.go.th/doc/gov-policy/pt-3.htm วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    การแก้ปัญหาหนี้สินของประเทศต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้ ดังนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานรากของประเทศ ตั้งแต่การผลิตเพื่อการบริโภค นำผลผลิตที่เหลือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ในระดับครอบครัว ส่งเสริมการรวมตัวเพื่อดำเนินเศรษฐกิจระดับชุมชนเร่งพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งส่งเสริมการเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูล และสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดยุคใหม่ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และศักยภาพของทักษะที่ประเทศมีความโดดเด่นเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เพื่อสร้างฐานการจ้างงาน กระจายโอกาสและกระจายความเสี่ยง สร้างฐานการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ เกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ สำหรับด้านการเกษตรกรรมมีรายละเอียด ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
          2.2.1 ส่วนที่ 1 ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
                   1) ปรับโครงสร้างสินเชื่อ และเงินทุนภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวงจรการผลิตเร่งรัดการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร และพักชำระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี แก่เกษตรกรรายย่อย
                   2) ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือก และเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
                   3) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกระดับให้เหมาะสมต่อระบบการผลิต และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ คูคลองส่งน้ำ คุณภาพน้ำ และชลประทานระบบท่อ รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่
          2.2.2 ส่วนที่ 2 การพัฒนาตลาดในประเทศและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนชนบท
                   1) มุ่งพัฒนาการผลิตภาคชนบทและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน โดยเชื่อมโยงการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านแห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวสำหรับการลงทุนและสร้างรายได้แก่ประชาชนในชนบท
                   2) พัฒนาระบบการตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนการจัดตั้งยุ้งฉางลานตากของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตรและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศด้านการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   3) ส่งเสริมการสหกรณ์ ธุรกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง และให้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเสนอนโยบายและมาตรการด้านการเกษตร และการวิจัยพัฒนาด้านการเกษตร
                   4) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทยและวิทยาการสมัยใหม่
                   5) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำการเกษตร รวมทั้งเกษตรอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสอดคล้องความต้องการของตลาดและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่
          2.2.3 ส่วนที่ 3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรในตลาดโลก
                   1) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
                   2) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในอนาคต
                   3) พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรทั้งการนำเข้าและส่งออก รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ
                   4) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้าน การพัฒนากองเรือประมง อุตสาหกรรมห้องเย็นและการแปรรูปสินค้าประมง รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศน์ทางทะเล

3. ทักษะกระบวนการทำงาน

    3.1 ความหมาย
    ทักษะเพื่อพัฒนาการทำงาน หมายถึง การนำความรู้  ความสามารถ  เทคนิค  และวิธีการต่างๆมาใช้ในการปฎิบัติให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทิภาพ  ซึ่งผู้ปฎิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำมีทักษะ ในการวิเคราะห์งาน  มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถแก้ปัญหาได้  มีความคิดริเริ่ม  มีความสามารถในการบริหารงาน  สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานที่ได้ เป็นอย่างดี  ที่สำคัญจะต้องสามารถเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อการทำงานให้เกิดประประสิทธิ ภาพสูงสุด  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทักษะเพื่อพัฒนาการทำงานที่สำคัญ  (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
    ทักษะกระบวนการ หมายถึง กระบวนการทำงาน ที่ดำเนินการเป็นขั้นตอนอย่างคล่องแคล่วแม่นยำจนบรรลุผลที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด การทำงานหรือโครงงานใดๆ อาจดำเนินการตามหลักของทักษะกระบวนการได้เสมอ (เข้าถึงได้จาก : http://www.pbj.ac.th/tawattidate/projcet/pro/lean4.1.htm  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)

    3.2 องค์ประกอบ
          3.2.1 ทักษะการแสวงหาความรู้ ในการทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น  ผู้ปฎิบัติวานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  การแข่งขัน  ดังนั้น  ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  เพื่อนำความรู้มาใช้และพัฒนาการทำงานต่างๆ  ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานร่วมกับผู้อื่นการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงานเป็การคึกษาหาความรู้ การฝึกฝน เพื่อการทำงานการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้ วิธีการแสวงหาความรู้ (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557) มีดังนี้
                  1) การสังเกต  โดยเฝ้าดูสิ่งที่เราพเห็นอย่างใส่ใจ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์สิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งอื่นๆ
                  2) การฟัง โดยการรับฟังผู้อื่นด้วยใจที่เปิด ไม่คิด เพื่อฟังรับข้อมูลต่างๆแล้วนำมาประมวลผลความคิดเป็นของตนเองเป็นการสั่งสมความรู้ให้กับผู้ฟังได้เป็นอย่างดีแหล่งข้อมลในการฟังที่ดี เช่น เข้าร่วมฟังบรรยาย เข้าร่วมอบรมความรู้ต่างๆ
                  3) การซักถาม  เมื่อมีการรับฟังข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เมื่อมีขัอสงสัยก็ให้ซักถามแต่การซักถามนั้นจะต้องมีการค้นคว้าด้วย
                  4) การอ่าน โดยการคึกษาความรู้จากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ ที่มีมากมายการอ่านเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ก้าวทันสถานการณ์เป็นการพัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การอ่านนวนิยาย
                  5) การคึกษาค้นคว้า โดยการแแสวงหาข้อเท็จจริงในข่าวสาร ข้อมูล ความเข้าใจ ความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ ด้วยตนเองทั้งตำรา เอกสารทางวิชาการ แหล่งการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เป็นต้น
                  6) การสัมภาษณ์ โดยการสนสนทนพูดคุยกับบุคคลต่างๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และนำความรู้ที่ได้ไปประโยชน์ในการรวบร่วม เผยแพร่ต่อไป
                  7) การรวบร่วมและบันทึกข้อมูล วิธีการดำเนินการเพื่อเก็บรวบร่วมข้อมูลจากการแสวงหาความรู้ และบันทึกข้อมูลนั้นให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บันทึกในแฟ้มเอก บันทึกลงสมุดไว้คอมพิวเตอร์ จัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
          3.2.2 ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
    ในการทำงานใดๆ ก้ตามต้องพบกับปัญหาและจะต้องมีการตัดสินใจ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการของความพยายามในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เมี่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาสามารถหาแนวแก้ปํญหาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคุณณสมบัติเด่นของนักแก้ปัญหา คือ จะต้องมองเห็นปํญหาตั่งแต่ที่ยังเป็นปัญหาเล็กๆ อยู่ มีมุมมองต่างๆ ที่กว้างไกล กล้าเผชิญกับปํญหาและพยายามหาหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ ฉับไว แก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาดและท่วงที โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปํญหาในการทำงสนมี 6 ขั้นตอน (เข้าถึงได้จาก : http://skillstoworkforaliving.blogspot.com/2013/02/blog-post.html  วันที่ 28 ธันวาคม 2557) ดังนี้
                  1) สำรวจปัญหา
                  2) วิเคราะห์ปัญหา
                  3) สร้างทางเลือก
                  4) ประเมินทางเลือก
                  5) วางแผนปฏิบัติ
                  6) ประเมินผลการแก้ปัญหา
          3.2.3 ทักษะกระบวนการ มี 9 ขั้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.pbj.ac.th/tawattidate/projcet/pro/lean4.1.htm  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
                  1) ตระหนักในปัญหา และความจำเป็น
                  2) คิดวิเคราะห์วิจารณ์
                  3) สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
                  4) ประเมินและเลือกทางเลือก
                  5) กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
                  6) ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
                  7) ประเมินระหว่างปฏิบัติ
                  8) ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
                  9) ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
          3.2.4 ทักษะที่จำเป็นในการทำงาน (เข้าถึงได้จาก : http://www.manpowerthailand.com/know_detail.php?id=111  วันที่ 28 ธันวาคม 2557)
                  1) ทักษะในด้านการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ (Communication & Relation skills) สิ่งจำเป็นในการทำงานร่วมกันคือการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ซึ่งเป็นศิลปะในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีแก่กันกับบุคคล  เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่  ความนับถือ  ความจงรักภักดี  และความร่วมมือดังนั้นทักษะด้านนี้จึงเป็นทักษะสำคัญอันดับต้นๆในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพราะทักษะด้านนี้เป็นกลไกที่สามารถลดความขัดแย้งและยังเป็นการช่วยอำนวยการให้การติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและจะนำมาซึ่งความสำเร็จ
                  2) ทักษะในการแก้ปัญหา(Problem Solving Skills) การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานและบริหารงานเพราะการปฏิบัติงานไม่ว่าในตำแหน่งใดๆก็ตามจะต้องเผชิญกับปัญหาและสภาวะการณ์ต่างๆดังนั้นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบไม่เกิดความเครียดทางกายจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ปัญหาไม่ลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข  การแก้ปัญหาต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นระบบเริ่มตั้งแต่การกำหนดและแยกแยะสาเหตุของปัญหา มีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการแก้ไขและวิเคราะห์รวมถึงวิธีการและการวัดผลหลังการแก้ไขและสร้างมาตรฐานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม
                  3) ทักษะในการวางแผน(Organizing and Planning Skills) การทำงานที่ขาดการวางแผนที่ดีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ดังนั้นการมีทักษะในการวางแผนของพนักงานย่อมหมายถึงความสำเร็จเพราะการวางแผนคือการหาทางเลือกที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงานเช่นการใช้แผนระยะยาวในการพัฒนาทักษะและฝีมือของแรงงานทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานหรือผลงานนั้นได้
                  4) ทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ (Technology and Computer Skills) ด้วยรูปแบบการทำงานและการพัฒนาของการสื่อสารที่ครอบคลุมมากขึ้นได้ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในการกำหนดความต้องการของตลาดแรงงานผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่กำหนดทักษะในด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ไว้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของการรับพนักงานใหม่ เพราะพนักงานที่มีทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา (Linguistic Skills) ด้วยความก้าวหน้าของการสื่อสารและการติดต่อประสานงานกันมากขึ้นทำให้ทักษะการใช้ภาษามีส่วนสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพราะฉะนั้นพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ จะถือว่าได้เปรียบอย่างมากเพราะปัจจุบันมีผู้ลงทุนบริษัทจากต่างประเทศหรือการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นองค์กรที่มีพนักงานที่มีทักษะและความสามารถด้านภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
          3.2.5 ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงหาความรู้ และทักษะการจัดการมีหลักการและวิธีการ (เสาวนีย์ ประทีปทอง และคณะ หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) (เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com/node/130090 วันที่ 31 ธันวาคม 2557) ดังนี้
                  1) ทักษะกระบวนการทำงาน หมายถึง การลงมือทำงานต่างๆ ด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
                       (1) การวิเคราะห์งาน เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับเป้าหมายว่าเป้าหมายของงานคืออะไรและทำอย่างไรจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
                       (2) การวางแผนในการทำงาน  เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานระยะเวลาในการดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นต้น
                       (3) การลงมือทำงาน  เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
                       (4) การประเมินผลการทำงาน   เป็นการตรวจสอบ  ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ   รักกุม  ครอบคลุม  และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่
                  2) ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา จะช่วยให้เกิดความคิดในการหาทางออก  เมื่อพบปัญหาในเวลาหรือสถานการณ์การทำงาน  โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                       (1) สังเกต  นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต  สามารถศึกษาหรือรับรู้ข้อมูลมองเห็นและเข้าใจปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้
                       (2) วิเคราะห์   เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว   ควรวิเคราะห์ว่าปัญหาที่มีมากน้อยเพียงใดและลำดับความสำคัญของปัญหา
                       (3) สร้างทางเลือก  ควรสร้างทางเรื่องในการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะมีมากมายโดยการสร้างทางเลือกนั้นอาจจะมาจากการศึกษาค้นคว้าการทดลอง   การตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา
                       (4) ประเมินทางเลือก    ทางเลือกต่างๆที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้าหรืการตรวจสอบต่างๆควรพิจารณาให้ละเอียดว่าทางเลือกใดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาที่สุด
                  3) ทักษะการทำงานร่วมกัน ขั้นตอนการทำงานมีหลักการดังนี้
                       (1) รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม   ในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น    ควรรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
                       (2) มีทักษะในการพูดแสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม     เมื่อทำงานร่วมกับคนอื่นควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
                       (3) มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน  เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
                       (4) สรุปผลโดยการจัดทำรายงาน   การทำงานกลุ่มใดๆก็ตามควรมีการสรุปผลออกมาอย่าเป็นรูปธรรม อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน
                       (5) นำเสนองาน  เมื่อมีรายงานออกมาอย่างชัดเจน  เป็นเอกสารแล้ว ควรมีทักษะในการนำเสนองานการปฏิบัติงานของกลุ่มในรูปแบบต่างๆ
                  4) ทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถฝึกฝนได้จากการปฏิบัติ ต่อไปนี้
                       (1) กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้    คือการตั้งหัวข้อ   ตั้งประเด็นในการศึกษาค้นคว้า
                       (2) การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้  เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว  ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด
                       (3) การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้  คือการดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ  ตามแผนงานที่วางไว้
                       (4) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้   การนำข้อมูลต่างๆมาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล
                       (5) การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และการบันทึกจัดเก็บเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ออกมาตามต้องการควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา  
                  5) ทักษะการจัดการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                       (1) การจัดการระบบงานโดยสามารถจัดสรรเวลาทำงานให้เป็นระบบปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผนและขั้นตอนต่างได้
                       (2) การจัดการระบบคนโดยมีความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน  แบ่งปัน จัดสรรให้เหมาะสมกับงาน
(ยังไม่ครบถ้วน แต่จะรีบดำเนินการต่อนะครับ แต่เท่านี้ก็พอเป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมได้นะ นักเรียนตั้งใจศึกษาวิธีการทำงานของครูในส่วนนี้ดีดีนะครับ)

4. ระบบการหา การใช้ การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่
5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. การเพาะเลี้ยงนกหงษ์หยก
7. การเลี้ยงไก่ไข่
8. การปลูกข่า
9. การปลูกตะไคร้
10. การปลูกมันสำปะหลัง
11. การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
12. การเพาะเห็ดขอนขาว
13. การเพาะเห็ดฟาง
14. การเลี้ยงปลานิลหมัน
15. การปลูกผักสวนครัว

วัสดุ อุปกรณ์ ...
วิธีดำเนินการ ...
ผลการดำเนินการ ...
สรุปผลการดำเนินการ ...
อภิปรายผล ...
ข้อเสนอแนะ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น