วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

9. ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ :   Lemon Grass, Lapine
วงศ์ :   Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น :  จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป) เชิดเกรย , เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์)
ตะไคร้ อังกฤษ : Lemon grass, Oil grass

    ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.1 ถิ่นกำเนิด
    ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย ในทวีปอเมริกาใต้ และคองโก (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.2 ลักษณะโดยทั่วไป
    โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หางนาค ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางสิงห์ ตะไคร้หอม เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558) ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้  ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.3 การปลูกและขยายพันธุ์ 
    ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.4 สรรพคุณ
          9.4.1 น้ำมันตะไคร้ ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.2 ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
ทั้งต้น (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
                   1) รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
                   2) แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
                   3) ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
                   4) แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
                   5) แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
                   6) แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
          9.4.3 หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.4 ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558) ราก (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
                   1) แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
                   2) บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
                   3) รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
          9.4.5 ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย (เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้ วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.6 ใบสด มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.4.7 ต้น มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)

    9.5 วิธีและปริมาณที่ใช้ (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          9.5.1 แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
                   ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือ      
          9.5.2 ประกอบเป็นอาหาร
                   นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
          9.5.3 แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
                   ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
                   ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

    9.6 คุณค่าทางด้านอาหาร (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย

    9.7 สารเคมี (เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_12_2.htm วันที่ 1 มกราคม 2558)
          ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %  Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
          ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น